พระศรีอริยเมตไตรย

              หลังจากที่ห่างหายกันไปค่อนข้างนานเลยทีเดียว แต่การกลับมาครั้งนี้บอกเลยพิเศษมากๆ เพราะว่าเราจะไม่ได้พาไปรู้จักกับสถานที่ท่องเที่ยวในโลกแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงของเราเหมือนครั้งก่อนแล้ว แต่จะพามารู้จักและเรียนรู้กับสิ่งที่ทุกคนต้องเคยได้ยินและได้ศึกษากันมาบ้างแล้ว นั่นก็คือ พระโพธิสัตว์ในคติความเชื่อของฝ่ายมหายาน ซึ่งเชื่อว่าทุกคนนั้นต้องเคยดูหรือเคยได้ยินซีรีย์ พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลกที่เป็นโด่งดังอย่างมาก ซึ่งเป็นศาสดาที่เป็นปัจจุบันของศาสนาพุทธคือ พระโคตมพุทธเจ้า อย่างที่ทุกคนได้รู้นั่นเอง!!
             
           แต่เชื่อไหมว่าพระพุทธเจ้านั่นไม่ได้มีเพียงองค์เดียวมีอยู่เป็นจำนวนมากถึงขั้นว่าไม่อาจจะคิดคำนวณบวกเลขออกมาได้ ซึ่งถ้าเปรียบก็จะเปรียบประดุจน้ำหรือเม็ดทรายในคงคานทีเลยทีเดียว โดยไม่สามารถคิดออกมาเป็นปริมาณได้นั่นเอง!!!
            
        นิกายมหายานยังสร้างพระพุทธเจ้าอีกมากมาย ทั้งที่เป็นมนุษย์และมีสถานะเหมือนเทพเจ้ามีทั้งอดีต ปัจจุบัน และะอนาคต แต่ครั้งนี้เราจะมารู้เกี่ยวกับพระอนาคตของพระพุทธเจ้า แน่นอนว่าในปัจจุบันยังคงดำรงตำแหน่งฐานะเป็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต รอเวลาที่จะเสด็จลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ซึ่งทุกคนก็น่าจะเดากันได้บ้างแล้วใช่ไหมเอ่ยย???
 งั้นก็ไปหาคำตอบกันเล้ยยยย.......ยย




พระศรีอริยเมตไตรย ทรงศิราภรณ์แบบพระโพธิสัตว์อย่างศิลปะทิเบต
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/51/Maitreya_Buddha_-_Nubra.jpg

                     พระศรีอริยเมตไตรย เดิมมีการออกพระนามของพระองค์แตกต่างกันไปอย่างหลากหลาย ทั่งในพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ในส่วนของภาษาไทยมีการออกพระนามแตกต่างกันออกไปหลายชื่อเช่น "พระพุทธอารยะเมตตรัย" "พระศรีอารย์"  "พระศรีอริยเมตไตรย" เป็นต้น ส่วนพุทธศาสนาฝ่ายมหายานออกพระนามพระองค์ว่า "ไมเตรยะ"
                    พระศรีอริยเมตไตรย  หรือพระเมตไตรย (บาลี: Metteyya เมตฺเตยฺยสันสกฤต: मैत्रेय ไมเตฺรย) เป็นพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 หรือองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้ ที่จะเสด็จลงมาหลังจากสิ้นศาสนาของสมณโคดมหรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนั่นเอง โดยศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยจะยาวนานถึง 8,000 ปี และพระองค์จะมีพระชนมายุถึง 8 หมื่นปี โดยขนาดพระวรกายมีขนาด 88 ศอก(บางแห่ง 80 และ10 ศอก ) โดยจะเสด็จอุบัติขึ้นในสกุลพราห์ม ซึ่งจะมีระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมี 7 วัน



 
http://www.dhammajak.net/gallery/albums/userpics.jpg



         

ตรัสรู้ ณ โคนไม้กากะทิง เป็นไม้ศรีมหาโพธิ์ของพระองค์ ซึ่งพระศรีอริยเมตไตรย คือ พระอนาคตของพระพุทธเจ้า ศาสนาของพระองค์จะอุบัติหรือเกิดขึ้นในอนาคตนั่นเอง.






อาจจะมีศัพท์ที่อ่านและยังไม่เข้าใจ แต่เราจะมาทำความเข้าใจกัน
(
         ภัทรกัป คือกัปปัจจุบัน มีพระพุทธเจ้าถึง ๕ พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระสมณโคดมพุทธเจ้า (พระโคตม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) และพระศรีอาริยเมตไตรยพุทธเจ้า (พระโพธิสัตว์)


                      

        และอย่างที่รู้กันว่าพุทธมหายานนั่นมีความเชื่อและยึดถือหลักแห่งพระโพธิสัตว์ภูมิและเชื่อว่าพระโพธิสัตว์เป็นสิ่งที่ทุกคนนั้นมีอยู่แล้วและสามารถเข้าถึงได้แต่ยังมีพระโพธิสัตว์อีกมากให้เราได้ศึกษา อย่างเช่นพระศรีอริยเมตไตรย คืออนาคตของพระพุทธเจ้า ซึ่งในปัจจุบันยังคงเป็นพระโพธิ์สัตว์ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต รออเวลาที่จะเสด็จลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

                                                


พระศรีอริยะเมตไตรย มหาโพธิสัตว์ 
http://www.thummada.com/public_html/images/bodhi_12.gif



   
  พุทธประวัติของพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า

            พระโพธิสัตว์จะจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตมาถือปฏิสนธิในตระกูลพราหมณ์ ในครรภ์ของ “นางเมตไตรย” ภรรยาของ “สุพรหมพราหมณ์” ปุโรหิตของ “พระเจ้าสังขจักร” แห่งเกตุมดีนคร เมื่อทรงประสูติได้มีนิมิ 32 ประการแล้ว ก็บังเกิดปราสาท 3 หลังเพื่อเป็นที่ประทับ เมื่อพระชนมายุ 8,000 ปี ทอดพระเนตรเห็นนิมิตทั้ง 4 จึงทรงพอพระทัยในการบวช ท้าวมหาพรหมอัญเชิญอัฏฐะบริขารมาถวาย พระโพธิสัตว์ประทับนั่งเหนืออปราชิตบัลลังก์ในปฐมยาม ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณในมัชฉิมยาม ทรงทำให้แจ้งทิพยจักษุญาณในปัจฉิมยามในเวลารุ่งอรุณ ทรงบรรลุซึ่งพระสัพพัญญูญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศรีอริยะเมตไตรยพุทธเจ้า ทรงมีพระฉัพพรรณรังสีจากพระวรกาย ทำให้สว่างไสวทั้งกลางวันและกลางคืน คนทั้งหลายอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ บริโภคข้าวสาลีที่เกิดจากพระพุทธานุภาพ
   
 
https://www.dmc.tv/images/ScoopUpdate/Dream03/D531213/531213p4.jpg
              ไม้กากะทิงที่เป็นโพธิพฤกษ์ตรัสรู้ของพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า มีลำต้นกลมตรงเปรียบดังเงินบริสุทธิ์ ดุจมณฑลแห่งแววนกยูงที่รวมตัวกกันเป็นกลุ่ม งดงามดุจภูเขาแก้วมณีสีเขียว มีใบสีเหลืองตลอดกาล มีใบสีแดงแซมระหว่างดอก 
                  ส่วนดอกจะตูมอยู่ระหว่างกิ่งสีเขียวแก้วมณีอินทนิล ถ้าบานแล้วมีขนาดเท่าล้อรถ ยังคงบานสะพรั่งต่อไปถึง 8,000 ปี เมื่อพระองค์ปรินิพพานจึงจะร่วงล้นจากขั้ว


พุทธลักษณะของพระศรีอริยเมตไตรย
                

                                                             
http://jayanti2600.files.wordpress.com/2013/02/291.jpg?w=545

                    พระโคตมพุทธเจ้า ตรัสเล่าแก่หมู่ชนที่นับถือพพระพุทธศาสนาว่า ตลอดเวลาพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้าจะมีพระรัศมีสว่างไสวเรืองรองแผ่ออกจากพระวรกายไปได้ไกลถึง 25 โยชน์ื ทรงงดงามดุจดังสายฟ้า ประดุจแสงเทียนที่ลุกโชนตลอดเวลา 
                    พระวรกายของพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้ามีมหาปุริสลักษณะ 32 ประการบริบูรณ์ มีพระจันทร์และพระอาทิตย์อย่างละ 32 ดวง เรียงรายสลับกันอย่างงดงาม พระฉัพพรรณรังสีที่แผ่ออกมาจากพระวรกายของพระองค์มีขนาดเท่าลำต้นตาลแผ่ไปหมื่นจักรวาลไม่มีที่สิ้นสุด  ตราบที่ศาสดาของพระองค์ยังดำรงอยู่ และพระโคตมพุทธเจ้ายังตรัสเล่าเรื่องพระวรกายของพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้าให้แก่พระสารีบุตรว่า มีพระวรกายสูง 88 ศอก พระอุระกว้าง 15 ศอก


                                          
 ต้องบอกก่อนเลยว่าพระพุทธลักษณะของพระองค์นั้นไม่ได้มีเพียงเท่านี้พระองค์มีพระวรกายที่ประเสริฐและโด่นเด่นเป็นอย่างมาก หาผู้ใดเปรียบได้ยาก งั้นไปชมกันเลยว่าพระองค์นั้นมีพุทธลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง
http://www.gmwebsite.com.gif
 - มีพระเนตร (ตาในการมองเห็น) แววตากลมดำ ทรงมองเห็นได้กว้างใหญ่ไพศาลและยาวไกล และมีดวงตาอันบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน  แม้ไม่ลืมตาก็สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ ด้วยพระมังสจักษุตลอดทิวาราตรี  และทรงมองเห็นสัตว์น้อยใหญ่ที่อยู่ไกลถึง 12 โยชน์ โดยรอบโดยไม่ต้องลืมตา
- พระขนง (คิ้ว)แต่ละข้าง รูปทรงคล้ายรุ็งกินน้ำสีเขียวที่ฉายลง ณ สุวรรณบรรพต
 - พระนาสิก (จมูก)โด่งเปรียบเหมือนยอดภูเขาทอง
  - พระโอษฐ์ (ปาก)งามเปรียบดังผลตำลึงสุก
   - พระชิวหา (ลิ้น)มีความนุ่มและมีสีแดง
   - พระอุณหิสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ์ (เวียนขวา) รอบพระเศียรเป็นเปลวพุทธรัศมีโดยกลมรอบ
   - ดวงพระพักตร์ (ใบหน้า) กลมเหมือนพะจันทร์วันเพ็ญ
   - พระศอกลมเหมือนกลองทอง
   - ฝ่าพระหัตถ์ (มือ)ล้อมรอบดวยลายเหมือนตาข่าย

ซึ่งการเสด็จพระราชดำเนินหรือการเดินของของพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้าในทุกย่างก้าวจะมีดอกปทุม หรือดอกบัวหลวงบานสะพรั่งผุดขึ้นมารองรับฝ่าพระบาท ดอกบัวหลวงนี้มีกลีบดอกสีขาวเรณูสีแแดงเข้ม 

    คติความเชื่อในเรื่องพระศรีอริยเมตไตรย


        มีปรากฎอยู่ในคัมภีร์ของมหายานที่สอดคล้องในเวลาปัจจุบันของพระองค์ที่ดำรงอยู่เป็นพระโพธิสัตว์ ประทับบำเพ็ญธรรมอยู่บนสวรรค์รอเวลาที่จะเสด็จลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เพื่อช่วยเหลือนำทางให้สัตว์โลกพ้นจากห้วงแห่งความทุกข์และไปสู่นิพพานได้ในที่สุด
                โดยความเชื่อดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับความเชื่อดั่งเดิม ซึ่งปราถนาในการรอคอยผู้ที่จะมาช่วยเหลือ ให้พ้นจากความทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล แต่เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่หลายไปพร้อมกับความเจริญทางการค้าจึงทำให้เกิดการเลือกรับวัฒนธรรมและศาสนาเข้าไปใช้ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่่ยวทางจิตใจของผู้คนให้รู้จักสร้างหรือประดิษฐ์รูปเคารพสัญลักษณ์แทนพระองค์ขึ้นสักการะบูชา ในลักษณะที่แตกต่างกันไปตามความเชื่อ สิ่งเหล่านี้จึงทำให้เกิดรูปแบบเฉพาะตัวของเเต่ละประเทศ

                               




ต้องบอกก่อนไม่ได้มีเพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้นที่เชื่อหรือนับถือพระศรีอริยไตรยพุทธเจ้า ยังมี เนปาล ทิเบต จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ศรีลังกา อินโดนีเซีย พม่า กัมพูชา เป็นต้น


รูปแบบพุทธศิลป์พระศรีอริยเมตไตรย

       ในแต่ละประเทศมีการสร้างรูปเคารพที่แตกต่างไปเป็นแบบเฉพาะของตน มีทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคตของพระพุทธเจ้า แน่นอนว่าเราจะยกตัวอย่างที่เป็นอนาคตของพระพุทธเจ้า ก็คือพระศรีอริยเมตไตรย
        ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7 เริ่มมีการใช้รูปสัญลักษณ์ตามความเชื่อของช่างอินเดียในการสร้างรูปเคารพแต่ไม่ใช่สิ่งที่แสดงด้วยรูปของมนุษย์แต่แสดงในนามธรรม คือ รูปต้นไม้มีดอกลักษณะคล้ายดอกไม้ตระกูลจัมปกะ

http://www.dhammajak.net/gallery/albums/userpics/.jpg

      
       ซึ่งนักวิชาการหลายท่านเชื่อว่าเป็้นต้นเดียวกับต้นนาคเกสร ต้นไม้ตรัสรู้ของพระองค์ที่อยู่ตรงคานของซุ้มประตูของทางด้านทิศตะวันตกของสถูปสาญจี
                  
          ส่วนหลักฐานการสร้างสรรค์รูปในลักษณะรูปธรรมพบเป็นครั้งแรกในศิลปะคันธาราฐและมถุราแห่งอาณาจักรกุษาณะ เป็นเวลาเดียวกับเกิดพระพุทธรูป มีการบูชาพระองค์เป็นลักษณะเฉพาะ เพราะถือว่าพระองค์เป็นผู้ที่สามารถบำเพ็ญบารมีธรรมของพระโพธิสัตว์ถึงขั้นสุดท้ายอย่างสมบูรณ์และทรงโพธิญาณอย่างมั่นคง 

     
พระไมเตรยะโพธิสัตว์ประทับยืน ศิลปะคันธารราฐ
http://3.bp.blogspot.com/jpg
                        ในศิลปะคันธารราฐ   ราวพุทธศตวรรษที่ 7-9  ทรงแต่งกายแบบนักบวชตามพุทธประวัติของพระองค์ที่่ว่าในอนาคตจะเสด็จเกิดในสกุลพราห์ม เเต่เครื่องประดับตกแต่งเหมือนพระราชาหรือเจ้าชายในอินเดียและทรงประทับอยู่ในอิริยาบถประทับยืนอยู่ในลักษณะตริภังค์ แบบไม่เอียงสะโพก รองรับด้วยฐานสี่เหลี่ยมแต่งด้วยลายดอกไม้ ลายเรขาคณิตหรือภาพเล่าเรื่อง
                     พระพักต์แสดงลักษณะผสมระหว่างชาวตะวันออกและตะวันตกแบบศิลปะกรีก-โรมัน พระเกศายาวหยักศกเกล้าเป็นมวยสูงเหนือพระเศียรแบบนักบวช ปล่อยพระเกศาบางส่วนลงมาประพะอังสา เบื้องหลังมีประภามณฑลทรงกลมขนาดใหญ่ พระเนตรมองตรง ห่มผ้าหนาเป็นริ้วธรรมชาติแบบผ้าโทกา  พระหัตถ์ซ้ายถืออมกฤตกลศะหรือหม้อน้ำ พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุุระตั้งขึ้นและหงายฝ่าพระหัตถ์ออกทางด้านหน้าแสดงอภัยมุทรา สัญลักษณ์แสดงพลังแห่งการปกป้องคุ้มครองแแก่บรรดาสัตว์โลกทั่งหหลาย
                      


พระไมเตรยะโพธิสัตว์ประทับนั่ง แสดงอภัยมุทรา ศิลปะมถุรา พุทธศตวรรษทีี่ 6-9
                                    https://www.bloggang.com/data/derek/picture/1212133635.jpg


             ศิลปะมถุรา    ราวพุทธศตวรรษที่ 6-9 แกะสลักจากหินทรายแดง ลักษณะพระวรกายอวบอ้วนพระพักต์กลม ทรงเครื่องอาภรณ์และเครื่องประดับ คือทรงอาภรณ์เรียบบาง มีริ้วเฉพาะที่พระอังสาและพระพาหาซ้าย ประทับนั่งแบบวัชราสนะ โดยพระหัตถ์ที่งสองชำรุด แต่มีหลักฐานเดิมบ่งบอกว่าพระหัตถ์ขวาแสดงอภัยมุทรา พระหัตถ์ซายทรงถืออมมฤตกลศะะทรงกลมวางอยู่บนพะชานุด้านซ้าย

                                                                 
พระไมเตรยะโพธิสัตว์ หล่อด้วยสำริด ศิลปศรีวิชัย  ราวพุทธะศตวรรษที่ 14-15
http://www.thapra.lib.su.ac.th/supatlib/slide/SL1011_1369.jpg
           ศิลปะศรีวิชัย    ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 เป็นรูปลอยตัวหล่อด้วยสำริด ประทับยืนในอิริยาบทแบบตริภังค์ ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกแบนและมีขนาดใหญ่ ทรงเครื่องแต่งกายแบบนักบวช มีสายธุรำพาดเฉียงพระอังสาซ้าย ทรงนุ่งผ้ายาวมีสายรัดองค์แบบเชื่อกคาดทับ ส่วนพระหัตถ์ทั้งสองข้างนั้นหักหายไป

                                                           
พระไมเตรยะพระโพธิสัตว์สำริด 4 กร ศิลปะขอม พุทธศตวรรษที่ 12-14
http://www.thapra.lib.su.ac.th/supatlib/slide/SL1011_1378.jpg




พระไมเตรยะโพธิสัตว์ในฐานเทพบริวาร ภาพสลักนูนต่ำบนผนังถ่ำเอลโลร่าหมายเลข 10
ศิลปะหลังคุปตะ พุทธศตวรรษที่ 10-13

http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201306/19/71928827.jpg



                                               
          




                                                     

               นอกจากนี้ความเชื่อเรื่องพระศรีอริยเมตไตรยยังเป็นบ่อเกิดสำคัญของประเพณีทำบุญสร้างกุศลของพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วทุกภาค เช่น การทำบุญ การรักษาศีล  ประเพณีสวดพระมาลัย เป็นต้น
               เป็นยังไงค่ะกับความรู้ที่เราได้นำมาฝากกัน ต้องบอกเลยว่าสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงผู้คนในสมัยต่างๆที่ยึดถือ นับถือเรื่องพระศรีอริยไตรยในการเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมกัน และทุกคนก็ต่างมุ่งหวังว่าภายภาคโลกหน้านั้นจะได้เกิดในยุคของพระศรีอริยเมตไตรยหรือพบกับท่าน ซึ่งจะต้องเป็นโลกที่สมบูรณ์อย่างมากแน่นอนทั้งในทางโลกและทางธรรม แน่นอนว่าถ้าเราคิดในสิ่งที่ดีและลงมือทำในสิ่งที่ดี เชื่อว่าสิ่งดีดีก็จะตามมาแน่นอนนน
                     

                                            ขอบพระคุณที่เข้ามารับชม
                                                     
                                                    Have a nice day.

                                                 
              



        ขอขอบพระคุณแหล่งที่ให้ข้อมูลที่ดีมากๆ


    - กรมศิลปากร (ไม่ปรากฎผู้แต่ง).  (2555). พระศรีอริยเมตไตรย .  ปราจีนบุรี: สำนักศิลปากรที่ 5.
   - DMC.(2553).พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่ 37 ต้นมหาโพธิพฤกษ์.สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561,จาก https://www.dmc.tv
   - WinNews.(2560).พุทธประวัติ "พระศรีอริยเมตไตรย์" พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ที่ 5 (พระองค์สุดท้าย) ในภัทรกัปนี้.สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561,จาก https://www.winnews.tv/news/16438
   - สารคดี.(2560).ยุคพระศรีอาริย์.สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561,จาก https://www.sarakadee.com/2017/12/25/sriarn-age/
  - OkNation.(2555).พระศรีอาริยเมตไตรย..จะมาตรัสรู้เมื่อไหร่?.สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561,จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/buddha2600/2012/10/18/entry-1












Comments