สถานภาพความรู้เกี่ยวกับบาหลี


สถานภาพความรู้เกี่ยวกับบาหลี
ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.. 2533-2562
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                                                                                         ชื่อ: นางสาวอารยา  ดียิ่ง
                                                                                             รหัสนักศึกษา: 603081078-6
                                                                                               428331 ประวัติศาสตร์และสารคดี
บทนำ
บาหลี (Bali) เกาะเล็ก ๆ ของประเทศอินโดนีเซียที่ทอดตัวท่ามกลางหมู่เกาะนับหมื่นในมหาสมุทรอินเดีย ได้รับการขนานนามให้เป็น เกาะสวรรค์ที่เปี่ยมด้วยมนต์เสน่ห์เย้ายวน ดึงดูดให้ผู้คนนับล้านหลั่งไหลกันเข้ามาชมความงามพิสุทธิ์จากฝีมือการรังสรรค์ของธรรมชาติอย่างไม่ขาดสาย ความงามอันเลื่องชื่อบนพื้นที่เกาะเล็ก ๆ เพียง 5,780 ตารางกิโลเมตร ที่ได้ชื่อว่าเป็นอัญมณีแห่งมหาสมุทรอินเดีย ส่วนหนึ่งมีที่มาจากพิกัดซึ่งห่างจากเส้นศูนย์สูตรไม่มากนัก ก่อให้เกิดสภาพอากาศแบบเมืองร้อน ผนวกเข้ากับภูมิประเทศที่มีความหลากหลาย ทั้งยังมีภูเขาไฟกุหนุงอากุง (Gunung Agung) ซึ่งระเบิดครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1963 ทำให้ผืนป่าของบาหลีอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุจากดินภูเขาไฟ จนได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งแต่ทุ่งนาขั้นบันไดเขียวขจี ไปจนถึงต้นมะพร้าวบนหาดทรายขาวละเอียดริมชายฝั่งตัดกับสีฟ้าของน้ำทะเล  ภายใต้มนต์สะกดแห่งความงามทางธรรมชาติที่ชวนให้หลงใหล บาหลียังอาบไล้ด้วยแสงแดดแห่งจิตวิญญาณของผู้คนที่ยึดมั่นในความเชื่อและธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นเอกลักษณ์ไว้อย่างเหนียวแน่น
วิถีชีวิตของชาวบาหลีเป็นผลจากการตกผลึกทางความเชื่อดั้งเดิม ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ แต่เดิมคนพื้นถิ่นในหมู่เกาะอินโดนีเซียมีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าและจิตวิญญาณที่สถิตอยู่ในธรรมชาติ ต่อมาเมื่อกลุ่มพ่อค้าจากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ได้นำเอาศาสนาฮินดูเข้ามา ลัทธิต่าง ๆ ของฮินดูจึงค่อยๆ ขยายวงกว้างออกไป ตามมาด้วยศาสนาพุทธที่เข้ามาภายหลังยุครุ่งเรืองของอาณาจักรศรีวิชัย วัฒนธรรมฮินดูรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการผสมผสานในเกาะชวา สุมาตรา และบาหลีนี้มาถึงจุดพลิกผัน เมื่ออาณาจักรมัชปาหิตผู้ควบรวมอาณาจักรต่าง ๆ ในหมู่เกาะเป็นรัฐเดียวกันครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ถูกรุกรานและพ่ายให้แก่อาณาจักรมะละกาซึ่งเข้ารีตศาสนาอิสลาม ทำให้กษัตริย์แห่งอาณาจักรมัชปาหิตซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บนเกาะชวาตะวันออก พร้อมด้วยเจ้านาย นักบวช ช่างศิลป์ และชาวฮินดูที่ไม่ต้องการเปลี่ยนศาสนาต้องหลบมาตั้งถิ่นฐานในเกาะบาหลี ด้วยเหตุนี้ สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี การร่ายรำ และวัฒนธรรมความเชื่อพื้นเมืองดั้งเดิมของบรรพชนในหมู่เกาะอินโดนีเซียจึงยังหลงเหลือและงอกงามอยู่ในเกาะบาหลีแห่งนี้ (SME,2561: 2-3)
รวมถึงรัฐบาลบาหลีได้มีการริเริ่มจัดทำแผนที่เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะบาหลีอย่างยั่งยืน จากการที่บาหลีเคยได้รับบทเรียนราคาแพงเรื่องการวางแผนพัฒนาพื้นที่ในสมัยที่ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ซึ่งตรงกับยุคการปฏิวัติเขียว จึงทำให้มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรัดกุม เพื่อให้การท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกับศักยภาพด้านทรัพยากร พร้อมกันนี้ รัฐบาลยังได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่ทำหน้าที่ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยเฉพาะ “การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” ที่นอกจากจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบนเกาะแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงแก่ชาวบ้านอีกด้วย  (อาชวานันทกุล,2551)  จึงทำให้เป็นที่น่าสนใจว่าเกาะบาหลีแห่งนี้จะมีงานเขียนหรือเอกสาร รวมถึงสื่อวิดีทัศน์ในประเด็นใด เกี่ยวกับบาหลีอย่างไรบ้าง
บทความชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการศึกษาสถานภาพความรู้เกี่ยวกับบาหลี ในประเทศอินโดนีเซีย ว่าเป็นอย่างไร ในส่วนวิธีการศึกษาใช้วิธีการสำรวจจากแหล่งข้อมูลที่เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ ห้องสมุด และสื่อวิดีทัศน์จาก Youtube โดยเน้นการศึกษาประเภทของเอกสารจากหนังสือ  วารสาร และรวมถึงสื่อวีดีทัศน์
ผลการศึกษาพบว่า บาหลีมีงานเขียนหรือเอกสารสำคัญๆ รวมถึงสื่อวิดีทัศน์ ที่ถูกอธิบายในประเด็นต่าง ๆ ผู้จัดทำได้แบ่งการนำเสนอข้อมูลที่เป็นงานเขียนและสื่อวีดีทัศน์ จากการศึกษาสถานภาพความรู้เกี่ยวกับบาหลี มีการตีพิมพ์และเผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533-2562  มีทั้งหมด 37  ชิ้น
โดยสามารถแบ่งโครงสร้างของข้อมูลงานเขียนออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 งานเขียนเชิงวิชาการ
ประเภทที่ 2 งานเขียนเชิงสารคดี
และสามารถแบ่งโครงสร้างของข้อมูลสื่อวิดีทัศน์ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้       
ประเภทที่ 1 สารคดีเชิงวิชาการ
              ประเภทที่ 2 สารคดีเชิงท่องเที่ยว

โดยแบ่งนำการเสนอออกเป็น 4 ส่วน 1) บทนำ  2) การศึกษาสถานภาพความรู้จากงานเขียน 3) การศึกษาสถานภาพความรู้จากสื่อวิดีทัศน์ 4) สรุปและข้อเสนอแนะ




















2. การศึกษาสถานภาพความรู้จากงานเขียน
จากการศึกษางานเขียนหรือเอกสารต่างๆพบว่า มีงานที่เกี่ยวกับบาหลีทั้งหมด 21 ชิ้น ตีพิมพ์และเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. 2533-2561  โดยสามารถแบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 2 ประเภท 1) งานเขียนด้านวิชาการ  2) งานเขียนด้านสารคดี   ดังนี้
2.1   งานเขียนเชิงวิชาการ
จากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร พบว่ามีข้อมูลที่เกี่ยวกับงานเขียนเชิงวิชาการ  13  ชิ้น
ตารางที่ 1: งานเขียนเชิงวิชาการ
ลำดับ
ชื่อหนังสือ
ชื่อผู้แต่ง
ปีที่พิมพ์ (พ..)
1
ความสำเร็จในด้านการท่องเที่ยว
สามพร มณีไมตรีจิต
2533
2
Bali Style
2538
3
ผลกระทบจากเหตุการณ์ในบาหลี และแนวทางฟื้นฟู
เบญจรัตน์ มรรยาทอ่อน
2539
4
กบฏกริช บาหลี: อยู่อย่างยิ่งใหญ่ ตายอย่างมีเกียรติ
ธีรภาพ โลหิตกุล
2540
5
คำให้การสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ยุคล่าอาณานิคมในจีน พม่า เวียดนามและอินโดนีเซีย
ธนโชติ เกียรติณภัทร
2542
6
เมืองยั่งยืนในเอเชีย:แนวคิดจากเมืองนาราและบาหลี
ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง
2547
7
Balinese Dance, Drama and Music
Wayan Dibia and Rucina Ballinger
2547
8
Music in Bali: Experiencing Music, Expressing Culture
Lisa Gold
2548


ลำดับ
ชื่อหนังสือ
ชื่อผู้แต่ง
ปีที่พิมพ์ (พ..)
9
นาฏศิลป์บาหลี
ภาวินี บุญเสริม
2551
10
ราชา-ราชินี ที่โลกไม่ลืม
มานพ ถนอมศรี
2552
11
ศิลปวัฒนธรรม:ศิลปะชวา
รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี
2558
12
ประวัติศาสตร์ศิลปะ:อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี
2560
13
โมเดลธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในบาหลี
สสว. SME (Knowledge Center)
2561


สามพร มณีไมตรีจิต (2533) บทความเรื่อง ความสำเร็จในด้านการท่องเที่ยว ตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารการท่องเที่ยว (ททท.) ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 วารสารเล่มนี้แปลจากบทความชื่อเดียวกันใน Asean Seminar on Culture and Tourism ” ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์  บทความนี้จะเน้นศึกษาและให้ความสนใจใน 2 ประเด็นคือ 1) ศึกษาถึงระดับหรือขนาดของปฏิกิริยาสัมพันธ์แบบพลวัตระหว่างการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม 2) ศึกษาผลกระทบของความพยายามในการพัฒนาการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมในบาหลีเพื่อที่จะทำให้ความสำเร็จในด้านการท่องเที่ยวชัดเจน จึงจะใช้แนวทางการศึกษาทั้งแบบปทัสสถานนิยมและแนวประจักษ์นิยม  (Nornative and Empirical approaching studies)
เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับแนวคิดด้านปรัชญาของสังคมในชีวิตชุมชนของบาหลีที่ปรากฏมานานครอบคลุมตลอดทั่วพื้นที่ของเกาะ และให้ความสำคัญกับผลการวิจัยที่ปรากฏมาแล้ว รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับการสำรวจเชิงประสบการณ์ของนักวิชาการที่ให้ความสนใจ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม  บทความนี้จะใช้วิธีการขยายอธิบายพรรณนาเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้เกิดภาพพจน์เข้าใจได้มากที่สุด ทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวและบาหลีโดยทั่วไป
วารสารเล่มนี้ได้กล่าวถึง โครงการพัฒนาของจังหวัดบาหลีตั้งแต่ช่วงแผน Pelita l ถึง Pelita lV จะให้ความสำคัญกับการพัฒนา 3 ประการคือ เกษตรกรรม การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม ในส่วนของการพัฒนาการท่องเที่ยวนั้น ได้กำหนดให้ดำเนินไปภายใต้ความคิดวัฒนธรรมการท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินการอยู่ในตัวเมืองโดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆของเมืองเสนอร่วม หลักการสำคัญที่ต้องยึดมั่นอยู่ที่ว่าการท่องเที่ยวต้องขึ้นอยู่กับบาหลี ไม่ใช่ให้บาหลีต้องพึ่งพาการท่องเที่ยว หลักการเช่นนี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมมีความผูกพันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
สภาพความเป็นไปของบาหลีในเชิงการท่องเที่ยวมีรากฐานจากประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเริ่มต้นจากทศวรรษที่ 20 จนถึงขณะนี้ก็มีสภาวะการเจริญเติบโตขึ้นอย่างมาก จำนวนประชากรบาหลีที่ประกอบอาชีพและต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับจำนวนหมู่บ้านท้องถิ่น การคมนาคม การสื่อสาร ตลอดจนถึงวัฒนธรรมสังคมของบาลี เพื่อตอบสนองต่อการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะสะท้อนให้เห็นในเรื่องของปรัชญาความสัมพันธ์แบบพลวัตระหว่างการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมในบาหลี ดังนี้
1)   แบบแผนของความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของสังคมบาหลีจะมีลักษณะที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้แบบพลวัต ให้ผลทางบวกและกรอบความคิดสร้างสรรค์
2)   พิจารณาในแง่มุมของวัฒนธรรมจะเกิดปรากฏการณ์ทางด้านการสร้างสรรค์และการฟื้นกลับมามีชีวิตชีวา โดยไม่สูญเสียเอกลักษณ์ที่สำคัญไป ในภาพรวมแล้ว อาจกล่าวได้ว่าสังคมบาหลีมีการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมแล้ว และมีการปรับตัวอยู่เสมอ
3)   การพัฒนาการท่องเที่ยวมีกระบวนการที่จะส่งเสริมให้วัฒนธรรมบาหลีพัฒนามีคุณค่าและค่านิยมที่สูงขึ้น ซึ่งมีส่วนต่อความสำเร็จในแผนการพัฒนา องค์ประกอบที่สำคัญในเรื่องนี้ก็คือรากฐานของวัฒนธรรมบาหลี มีลักษณะที่เปิดและสร้างสรรค์ ประกอบกับบรรยากาศแวดล้อมที่เกื้อหนุนให้สังคมมีความสามัคคี กลมกลืน รวมถึงตอบสนองต่อนโยบายของรัฐทั้งส่วนกลาง และท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
4)   การพัฒนาการท่องเที่ยวที่บาหลี ให้ผลกระทบทั้งทางบวกและลบ สังคมบาหลีเผชิญกับผลกระทบอย่างนี้ได้เป็นอย่างดีและสามารถตอบสนองอย่างสร้างสรรค์ ปรับตัวให้สอดคล้อง เอื้อประโยชน์ต่อกันได้
5)   ผลกระทบทางบวกจะแยกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจซึ่งให้ความพอใจทางวัตถุและผลกระทบทางวัฒนธรรมตอบสนองเป็นที่น่าพึงพอใจ ผลบวกเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ความคิดสร้างสรรค์ของสังคมบาลี ให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น
6)   ผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันมีน้อย ทั้งยังได้มีการเตรียมการป้องกันไว้แล้ว ทำให้ผลกระทบทางลบเหล่านี้จะไม่ร้ายแรงถึงขั้นที่จะทำลายโครงสร้างภายในสำคัญของบาหลีได้ เนื่องจากสังคมมีความยึดมั่นในประเพณีศาสนาและมีความสามารถในการปรับตัวประยุกต์ให้ก่อประโยชน์ได้

CO.Ltd (2538)  หนังสือเรื่อง  Bali Style     หนังสือเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความเป็นบาหลีให้ถึงแก่นแท้ โดยมีการนำเสนอผ่านประเด็นต่างๆ อย่างเช่น ประเพณีของบาหลีที่น่าสนใจ รูปแบบศิลปะ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมไม้ไผ่ และเรื่องราวที่เกี่ยวกับสถานนี้ก่อนที่จะมาเป็นบาหลีที่ผู้คนให้ความสนใจอย่างเช่นทุกวันนี้ มีการนำเสนอผ่านรูปภาพประกอบ เพื่อให้เห็นได้ชัดเจนและเข้าใจมากยิ่งขึ้น
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวว่าบาหลีได้รับการขนานนามว่าเป็น "เกาะแห่งศิลปิน"  เนื่องจากความสมบูรณ์แบบของพื้นที่ ผู้คนที่ได้สร้างศิลปะอันงดงามขึ้นมา เป็นผลโดยตรงจากศาสนาฮินดูที่ผู้คนนับถืออย่างเคร่งครัด ถือว่ามันเป็นสิ่งที่ชาวบาหลีแสดงออกมาอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน บวกกับจิตวิญญาณ ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถทางศิลปะที่สามารถเห็นได้ทุกที่บนเกาะบาหลี
 เพื่อให้เกิดความเข้าใจและลึกซึ่งในสไตล์ที่ซับซ้อนของชาวบาหลี จำเป็นต้องมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์  ที่แสดงให้เห็นว่าคนบาหลีมีรูปแบบศิลปะเป็นของตนเอง และรวมถึงได้รับอิทธิพลจากภายนอกมาหลายศตวรรษ ก่อเกิดความเป็นบาหลีแท้ๆอย่างทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์ของบาหลียังไม่ได้รับการบันทึกไว้อย่างชัดเจน แต่เรื่องราวตำนานประวัติศาสตร์ถูกรวมเข้าด้วยกันทั้งใน สถานที่ต่างๆวรรณคดี และในใจของชาวบาหลีมาช้านานแล้ว สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่างานสถาปัตยกรรมนั้นเกิดขึ้นมาจากความศรัทธาทางศาสนาและอำนาจปกครองจากผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ถ้ามองในแง่ของสังคมเกษตรกรรมที่ไม่ได้มีทรัพยากรมากมายเหลือเฟืออย่างบาหลีนั้น งานสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จึงทุ่มเทให้กับวัด ซึ่งมีอยู่มากเท่ากับจำนวนหมู่บ้านที่มีอยู่ในบาหลี
แต่บาหลีในวันนี้ ในขณะที่เรากำลังอยู่ศตวรรษที่ 21 ถือว่าไม่ใช่แค่กำลังพัฒนาแต่เข้าไปสู่วิถีรูปแบบตะวันตกไปแล้ว ด้วยความทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต รถจักรยานยนต์ และการสื่อสารระหว่างประเทศ  แต่อย่างไรก็ตามความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมยังคงเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ ที่ปรากฎให้เห็นในชีวิตประจำวันผ่านพิธีกรรม และองค์กรทางสังคม  ถือว่าบาหลีเป็นสถานที่แห่งชีวิตของชุมชน ... มีการแบ่งปันซึ่งกันและกัน มีความผูกพันทางศาสนาและความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อครอบครัว ต่อผู้คนใกล้เคียง และเปิดรับผู้คนภายนอกเสมอ
สิ่งเหล่านี้มันสะท้อนให้เห็นว่าโลกภายนอกนั้นถือว่าเป็นกระจกบานใหญ่สำหรับชาวบาหลี ซึ่งมันสามารถสะท้อนพวกเขาได้ดีที่สุด  ภาพสะท้อนนี้ทำให้พวกเขามั่นใจได้เลยว่าบาหลีนั้น เป็นศูนย์กลางของจักรวาลอย่างแท้จริง  เปรียบเสมือน "the morning of the world.”

เบญจรัตน์ มรรยาทอ่อน (2539) บทความเรื่อง ผลกระทบจากเหตุการณ์ในบาหลี และแนวทางฟื้นฟู ตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารการท่องเที่ยว ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 งานเขียนชิ้นนี้มีอ้างอิงจากการวิเคราะห์ขององค์การท่องเที่ยวโลก (World of Tourism Organization) จุดมุ่งหมายเพื่อให้เห็นถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ 11 กันยายน ที่ทำให้มีการนำไปสู่ความมือกันในหลายภาคส่วนมากขึ้น โดยองค์กรธุรกิจการค้าและรัฐบาลร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งองค์การการท่องเที่ยวโลกนั้น ต้องการที่จะเห็นความร่วมมือดังกล่าว จึงได้ดำเนินและขยายต่อไปในกลุ่มอาเซียน ทำให้มีการริเริ่มจัดทำสัญญาความร่วมมือและส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวขึ้นมา เพื่อเป็นการรวมมือกันในการฟื้นฟูการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
จากเหตุการณ์การระเบิดที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดความคลุมเครือ ไม่แน่ใจของนักท่องเที่ยว ถือเป็นศัตรูตัวร้ายของธุรกิจการท่องเที่ยว จึงนำไปสู่การเรียนรู้ การรักษาเยียวยา   และการฟื้นฟูสู่สภาพเดิมของการท่องเที่ยวซึ่งผู้จัดทำได้ทำการศึกษาและอ่านทบทวน สามารถสรุปผลได้ดังนี้
1)   ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเหตุการณ์โจมตีบาหลี เป็นการเจตนาจงใจโจมตีการท่องเที่ยวโดยตรง
2)   ธุรกิจการท่องเที่ยวในบาหลีได้รับผลกระทบทันที โดยยอดจองโรงแรมลดลงจากระดับเฉลี่ยร้อยละ 73 เหลือร้อยละ 3
3)   ผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้ปลดชื่อบาหลีและสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ทั้งหลายของอินโดนีเซียออกจากตลาดท่องเที่ยวเพียงช่วงเล็กน้อย ก่อนเริ่มฤดูกาลท่องเที่ยวของซีกโลกภาคเหนือ
4)   บางประเทศโดยเฉพาะประเทศไทยได้รับประโยชน์จากนักท่องเที่ยวที่มาทัวร์เป็นหมู่คณะ (packaged tourists) เปลี่ยนเส้นทางการเดินทางจากเกาะบาหลี อย่างไรก็ตามเดิมที่เอเชียเคยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีจุดท่องเที่ยวมากแห่งหนึ่ง (multi-destination experience) การแยกตัวออกไปของเพชรงามอย่างบาหลีจึงเป็นการทำลายสถานที่ท่องเที่ยว (ผลิตภัณฑ์) โดยรวมทั้งหมด
5)   ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คาดว่าธุรกิจการท่องเที่ยวทั่วโลกจะไม่ลดลงมากนัก อย่างไรก็ตามมีการแบ่งสรรตลาดกันใหม่ โดยบางส่วนของทวีปเอเชียจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดนักท่องเที่ยวระยะไกลไปทั้งนี้คาดว่าประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์จะได้รับผลกระทบเสียหายรุนแรงที่สุด เนื่องจากการท่องเที่ยวจะลดลงในระดับมากถึงร้อยละ 20
โดยการฟื้นตัวจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องแสดงจุดยืนที่แน่วแน่ในการต่อต้านความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากลัทธิก่อการร้ายหรือสงครามในทุกรูปแบบ โดยองค์กรสถาบันระหว่างประเทศ เช่น องค์กรการท่องเที่ยวโลก จะต้องมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในฐานะที่เป็นธุรกิจส่งเสริมสันติภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศต่างๆ และในช่วงเวลาที่ไม่แน่ใจจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่อาจจะก่อขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจำเป็นจะต้องมีผู้นำที่กล้าหาญ ซึ่งภารกิจหลักๆนี้องค์กรการท่องเที่ยวโลกก็ยังคงปฏิบัติและดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
ธีรภาพ โลหิตกุล (2540) หนังสือเรื่อง กบฏกริช บาหลี: อยู่อย่างยิ่งใหญ่ ตายอย่างมีเกียรติ เป็นงานเขียนทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญของ ธีรภาพ โลหิตกุล งานเขียนชิ้นนี้ ผู้เขียนใช้ชื่อคล้ายกับหนังเล่มก่อนที่ตีพิมพ์เผยแพร่ออกไป ชื่อหนังสือกบฏเกือกเมื่อเลือดอิรวดีกรุ่นและตั้งใจสื่อถึงกบฏกริชคือผลงานอันต่อเนื่องจากกบฏเกือก ซึ่งเป็นสารคดีเชิงประวัติศาสตร์ แก่นแท้ของเรื่องคือการต่อสู้ดิ้นรนของชนพื้นเมืองในอุษาคเนย์ผู้ไม่ยอมจำนนให้นักล่าเมืองขึ้นจากดินแดนตะวันตกอันไกลโพ้น ในอีกด้านหนึ่ง ตีความคำว่ากบฏตามนัยของอันแบร์กามู ประพันธกรหรือนามชาวฝรั่งเศสที่ว่าเพราะกบฏจึงทำให้มีชีวิตอยู่ สะท้อนให้เห็นความต่างกับความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานที่ว่ากบฏคือการประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร ความทรยศหรือความหมายทางการเมืองที่ว่ากบฏคือผู้ที่ก่อการรัฐประหารแล้วแพ้หรือล้มเหลวถ้าชนะเรียกว่าคณะปฏิวัติ หรือคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งดูจะเป็นการตีความที่คับแคบเกินไปเพราะการที่พระราชาธิบดีพระองค์หนึ่งกับเหล่าข้าราชบริพารและอาณาประชาราษฎร์พร้อมใจกันเหน็บกริช อันประดับด้วยเพชรนิลจินดาเดินฝ่ากระสุนปืนไฟ โดยเป็นผู้รุกรานอย่างไม่เกรงกลัวความตายเพื่อพิทักษ์ปกป้องเอกราชอธิปไตยและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ผู้มีอิสระเสรีของตนไว้
อย่างที่งานเขียนเล่มนี้กล่าวถึงสุลต่านแห่งเกาะบาหลีที่ได้แสดงให้โลกประจักษ์ในโศกนาฏกรรมที่เรียกว่า ปูปูตันบาหลีเมื่อราว 100 ปีก่อนนั้น มันน่าจะมีคุณค่าและความหมายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดซึ้งเกินกว่าจะใช้คำว่าประท้วงหรือต่อต้านธรรมดา เพราะผลของการกระทำดังกล่าว หมายถึงการจงใจที่จะเอาชีวิตไปแลกกับเอกราชอิสรภาพ เป็นการประกาศเจตนารมณ์อย่างหาญกล้า ว่าถ้าสิ้นไร้ซึ่งเอกราชและอิสรภาพก็คงยากที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป นั่นคือกบฏต้องแข็งคืน ต้องประทุษร้ายต่ออาณาจักรของผู้รุกราน เช่นจักรวรรดินิยมฮอลันดา ต้องทรยศต่อเจ้าอาณานิคม ต้องไม่ก้มหัวให้นักล่าเมืองขึ้น เช่นนี้แล้วชีวิตที่มีอิสระเสรีและเป็นผู้กำหนดชะตาตนเองจึงจะดำรงอยู่ได้ ปัจจุบัน เมืองเดนปาซา เป็นศูนย์กลางของเกาะบาหลี บนถนนสายที่ได้รับการเฉลิมนามว่าจรัญปูปูตันหรือถนนแห่งความตายอย่างมีเกียรติ ซึ่งเคยนองเนืองไปด้วยเลือดน้ำตา และกองศพที่ทับถมของเหล่าผู้รักชาติชาวบาหลีภายใต้การนำขององค์สุลต่านแห่งเดนปาซา
งานเขียนชิ้นนี้ทำให้นึกถึงที่เรื่องราวเหตุการณ์เก่าๆจากกรณีนองเลือด 6 ตุลาคม 2519 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ให้หวนคืนสู่ความทรงจำกี่ครั้งจากที่ได้ยินมาหรืออ่านหนังสือ  ชี้ว่ายังจะต้องมีจรัญปูปูตันอีกสักกี่สาย มีถนนเดือนตุลาคมอีกกี่เส้น คนจึงจะเลิกรุกรานเบียดเบียนฆ่าฟันกัน
สะท้อนให้เห็นว่างานเขียนเล่มนี้ มีความหลากหลายทั้งสถานที่และกาลเวลามารวมกันไว้ในกบฏกริชเล่มนี้ แต่ก็ยังล้อมรอบใจกลางเดียวกันนั่นคือการจัดตอนประวัติศาสตร์หน้าสำคัญที่พลิกผันเปลี่ยนแปลงสภาพการเมืองเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและชนเผ่าต่างๆในดินแดนอุษาคเนย์เช่นเขมร มอญ บาหลี ไทลื้อ สิบสองปันนา ไทยเขินหรือไทขึง เชียงตุงมาบอกเล่าผ่านสายตาของผู้เขียนที่ได้เดินทางไปเห็นภาพปัจจุบันของสถานที่ที่ทรงคุณค่าในอดีตมานำเสนอ ทำให้เห็นว่านี่ไม่ใช่เพียงการเอาข้อมูลประวัติศาสตร์มาเขียนรายงาน มีการใส่ใจในกลวิธีการนำเสนอเพื่อให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสควบคู่กันไปกับเนื้อหาสาระ นอกจากนี้ยังแกะรอยหนังสือสำคัญในประวัติศาสตร์มี 3 เล่มคือพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ในรัชกาลที่ 5 ถกเขมรของอาจารย์หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชและชนชาติไทยของหมอดอท ซึ่งก็บันทึกเหตุการณ์ในช่วงเวลาแห่งการพลิกผันเปลี่ยนแปลงของสยามและประเทศเพื่อนบ้านไว้อย่างน่าสนใจเช่นกัน
ธนโชติ เกียรติณภัทร  (2542)  บทความเรื่อง คำให้การสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ยุคล่าอาณานิคมในจีน พม่า เวียดนามและอินโดนีเซีย เป็นฉบับของธนโชติ เกียรติณภัทร บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร งานเขียนชิ้นนี้กล่าวถึงคำให้การในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นหลักฐานสำคัญ โดยมีจุดประสงค์ให้เห็นถึงเหตุการณ์บางส่วนทางประวัติศาสตร์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เป็นช่วงการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก เนื่องจากเป็นเอกสารที่รัฐจัดทำขึ้น จดบันทึกจากปากคำของผู้ให้การที่มีส่วนรู้เห็นหรืออยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ จากการที่ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาพบว่ามี เรื่องที่เล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในจีนและดินแดนอุษาคเนย์ 4 ประเทศ คือ
1)อิทธิพลของอังกฤษในพม่า พบในคำให้การที่ผู้ให้การได้เดินทางไปยังเมืองเมาะตำเลิมเพื่อสืบราชการ จึงจึงพบเห็นการปกครองของอังกฤษในเมืองเมาะตำเลิมหลังจากทำศึกชนะพม่า
2) อิทธิพลของอังกฤษในจีน พบในคำให้การทูตที่เดินทางไปยังปักกิ่ง ราชทูตไทยสอบถามเกี่ยวกับเหตุการณ์อังกฤษรบจีนในสงครามฝิ่น
3) อิทธิพลของฝรั่งเศสในเวียดนาม พบในคำให้การที่ผู้ให้การเดินทางไปสืบราชการเมืองญวน กล่าวถึงความขัดแย้งทางศาสนาในเวียดนามที่พระเจ้าแผ่นดินต่อต้านคริสต์ศาสนา จึงทำให้เกิดสงคราม
4) อิทธิพลของฮอลันดาในอินโดนีเซีย (บาหลี) ซึ่งเนื้อหาในคำให้การกล่าวถึงสงครามขยายอาณาเขตของฮอลันดาในอินโดนีเซียไปยังเกาะบาหลีเมื่อ พ.ศ. 2389 เรื่องราวที่บันทึกไว้ในคำให้การเหล่านี้ทำให้เห็นว่าชนชั้นปกครองของสยามในขณะนั้นได้รับรู้เรื่องราวภัยการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก
คำให้การเหล่านี้ได้ชี้ให้เห็นว่าฮอลันดาหรือดัตช์ได้เข้ามามีอิทธิพลในบาหลี โดยเริ่มจากการทำการค้า มีจุดประสงค์เพื่อนำเครื่องเทศไปจำหน่ายในยุโรป กลุ่มพ่อค้าชาวดัตช์ได้ตั้งสถานีการค้าที่บันทัม ในปีพ.ศ.2139 ต่อมาจึงได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกในปี พ.ศ.2145 นโยบายในระยะแรกของฮอลันดาเน้นการค้าเพียงอย่างเดียว แต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ฮอลันดาเริ่มยึดดินแดนในอินโดนีเซียโดยเริ่มจากเมืองบันทัม ขยายอิทธิพลเหนือหมู่เกาะและนำเครื่องเทศไปได้สำเร็จในปี พ.ศ.2210 ต่อมาช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 อิทธิพลฮอลันดาในอินโดนีเซียหยุดชะงักลง เนื่องจากสงครามนโปเลียนในยุโรป ฮอลันดาอยู่ฝ่ายฝรั่งเศส อังกฤษจึงเข้ามายึดอินโดนีเซียของฮอลันดา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อสิ้นสงคราม อังกฤษได้คืนให้ฮอลันดาตามเดิม ดังนั้นช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ฮอลันดาจึงพยายามขยายอำนาจครอบครองดินแดนในอินโดนีเซียเกือบทั้งหมด เนื่องจากมีความต้องการขยายการเพาะปลูก และต้องการสกัดกั้นอิทธิพลอังกฤษในเกาะบอร์เนียวเหนือ ในช่วงปี พ.ศ.2389-2413 ฮอลันดาได้ขยายอำนาจยึดเมืองทางตะวันออกของอินโดนีเซีย เช่น บอร์เนียว บาหลี จนถึงตอนใต้และตอนกลางของเกาะสุมาตรา (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล 2543:)
การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกที่ปรากฏในคำให้การสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ผู้จัดทำทราบถึงว่าชนชั้นปกครองของสยามในขณะนั้นได้รับรู้จากปากคำของผู้ให้การถึง 4 เหตุการณ์ ดังที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งเป็นภัยจากการล่าอาณานิคมที่เกิดขึ้นในอาณาจักรที่อยู่ใกล้เคียงกับสยามทั้งสิ้น และแสดงให้เห็นว่าชนชั้นปกครองของสยามได้รับรู้ข่าวสารในประเทศต่างๆ ที่ถูกล่าอาณานิคมก่อนที่จะตัดสินใจและดำเนินการเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศต่อไป
ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ (2547) หนังสือเรือง เมืองยั่งยืนในเอเชีย:แนวคิดและประสบการณ์จากเมืองนาราและบาหลี  เป็นรายงานการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาตะวันออกในการบริหารจัดการเมืองโดยใช้เมืองในเอเชีย 2 เมืองคือเมืองนารา (Nara)ในประเทศญี่ปุ่น และบาหลี (Bali)ในอินโดนีเซียเป็นกรณีศึกษา  เป็นการศึกษาถึงความยั่งยืนของเมืองในเอเชียซึ่งมีสมมุติฐานว่าแตกต่างจากประสบการณ์ของตะวันตก โดยจะพิจารณาประวัติความเป็นมาของเศรษฐกิจ เมือง สังคม วัฒนธรรม กายภาพ ความเชื่อดั้งเดิม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนศาสนา รวมทั้งนโยบายระดับชาติและปัจจัยภายนอก
จุดมุ่งหมายของงานเขียนเล่มนี้ต้องการปลุกจิตสำนึกว่า ถ้าหากวันหนึ่งเมืองสองเมืองนี้ปราศจากความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งไม่ว่าจะเมืองนาราหรือเมืองบาหลีก็ไม่เป็นที่รู้จักในฐานะตัวอย่างของเมืองยั่งยืนในเอเชีย อย่างไรก็ตามกระแสโลกาภิวัตน์นั้นจะเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในการที่จะทำให้ความคิดของเอเชียในโลกมีความอ่อนแอลง หากเมืองนั้นไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงและจุดแข็งของตน ก็อาจจะถูกกลืนด้วยปัจจัยภายนอก และในที่สุดกลายเป็นเช่นเมืองอื่นๆที่ดำรงอยู่อย่างไม่ยั่งยืนเช่นกัน
การศึกษาในเรื่องนี้ ชี้ให้เห็นว่ามีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่มีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเมืองบาหลี กรณีของปัจจัยภายนอกระดับนานาชาติ ที่มีความสำคัญพอๆกับปัจจัยภายใน
ดังนั้น ปัจจัยแรก นโยบายของรัฐบาลดัตช์ที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนการ ทำบาหลีให้เป็นบาหลี(The balinization of Bali) เพื่อทดแทนการรุกรานอย่างโหดเหี้ยมตอนที่ดัตช์เข้ายึดครองบาหลี ซึ่งตอนนั้นนำไปสู่การฆาตกรรมหมู่ที่สยดสยองเรียกว่า ปูปูตันเมื่อชนชั้นสูงของบาหลีในหลายเมืองพร้อมใจกันสังหารตัวเองโดยไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจของดัตช์ กระบวนการเคลื่อนไหวให้บาหลีเป็นบาลี มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเก็บรักษาวิถีชีวิตแบบบาหลี และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่นในการที่จะทำเรื่องอัตลักษณ์ของตนโดยมีโครงการต่างๆมากมาย
ปัจจัยที่สอง คำแนะนำจากธนาคารโลกที่ให้มีการวางแผนแม่บทเพื่อการท่องเที่ยว ได้ทำให้เกิดการกำหนดแหล่งท่องเที่ยว และการอนุรักษ์เกาะอย่างเข้มข้นและ ให้บางจุดได้รับการพัฒนาแบบสมัยใหม่และเก็บรักษาจุดอื่นๆ
 ปัจจัยที่สาม นโยบายของรัฐบาลอินโดนีเซียที่รณรงค์ให้ทำการท่องเที่ยวให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและทำสังคมให้เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว ทำให้ชาวบาหลียอมรับการท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
 ปัจจัยที่สี่ ฮินดูแบบบาหลีเป็นปัจจัยภายในที่สำคัญที่สุดสำหรับกรณีบาหลีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนกับพระเจ้า คนกับคน และคนกับสภาวะแวดล้อม เป็นคำสอนของฮินดู ซึ่งได้รับการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ความเชื่อในหลักคําสอนของศาสนาทำให้ชาวบาหลีดำรงอยู่อย่างอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ และไม่ใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือย
ปัจจัยที่ห้า กลุ่มองค์กรชุมชนที่เข้มแข็งซึ่งรวมตัวกันแสดงรายการต่างๆ ซึ่งพิธีกรรมดั้งเดิมเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าชม ทำให้เกิดการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวไปถึงมือชาวบ้านอย่างแท้จริง ชุมชนที่เข้มแข็งทำให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างยุติธรรม
การศึกษางานเขียนยังชี้ให้เห็นการลอบวางระเบิดที่เมืองคูต้าในปีพศ. 2002 เป็นเหตุการณ์ให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ตามด้วยการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส ซึ่งทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวประเทศที่มาบาหลีลดลงถึง  75% มีนักวิชาการและชาวบาหลีจำนวนหนึ่งตั้งคำถามว่าเกาะบาหลีนี้ควรที่จะพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลักอย่างที่เป็นมา หรือควรที่จะพึ่งตนเองมากขึ้นบนฐานของเกษตรกรรม นอกจากนั้น พลเมืองที่ส่วนใหญ่ของบาหลีได้มีความกังวลว่าในอนาคตอันใกล้ บาหลีจะเผชิญกับปัญหาวิกฤตน้ำอย่างรุนแรง เนื่องมาจากมีการใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือยตามวิถีตะวันตกในรีสอร์ทต่างๆที่กระจายอยู่โดยรอบเกาะ ปัญหาการทำลายระบบนิเวศของป่าชายเลนที่เกิดจากการตัดถนนผ่ากลาง จะทำให้เกิดปัญหาลูกโซ่ คือการพังทลายของชายหาด และการไหลซึมของน้ำทะเลมาสู่น้ำจืด ซึ่งจะทำให้มีกลิ่นน้ำอย่างรุนแรง นอกจากนั้นในแง่สังคม การครอบงำโดยวัฒนธรรมจากภายนอกและการอพยพเข้ามาของคนต่างศาสนาจะสร้างปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรงในอนาคตในสายตาของคนบาหลี
กรณีทั้งสองอย่างนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของนโยบายระดับชาติ นโยบายระดับเมืองและการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น และพลเมือง นโยบายของรัฐบาลมีความสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดแนวคิด ในการเก็บรักษาเมืองในบางแง่มุม แต่ก็นำไปสู่ภาวะวิกฤติหลายอย่างในสายตาของคนท้องถิ่นวิสัยทัศน์ของการบริหารจัดการเมืองและเทศบัญญัติล้วนมีความสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดความเคลื่อนไหวของพลเมืองในการอนุรักษ์  โดยถ้านำบาหลีไปเปรียบเทียบในกรณีของนาราซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีข้อดีในแง่ที่ไม่มีปัญหาในเชิงเศรษฐกิจ เพราะเมืองมีฐานเศรษฐกิจหลักทั้งทางด้านอุตสาหกรรมและด้านท่องเที่ยว  แต่กรณีบาหลีพึ่งพาการท่องเที่ยวเกือบทั้งหมด เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทันทีที่เกิดปัจจัยภายนอก ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมมากระทบ
Wayan Dibia and Rucina Ballinger (2547) หนังสือเรื่อง Balinese Dance, Drama and  Music   หนังสือเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแนะนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิมที่พบเห็นได้ทั่วไปในบาหลี ได้แก่ ดนตรีระนาด การเต้นรำ การละครและหุ่นกระบอก  เหมาะสำหรับผู้ต้องการมาเที่ยวเกาะบาหลี รวมถึงผู้ที่สนใจวัฒนธรรม ประเพณีของชาวบาหลี นำเสนอผ่านเรื่องราวและรูปแบบของการแสดงแต่ละประเภทพร้อมภาพประกอบและภาพถ่าย มากกว่า 200 รูป เกี่ยวกับการแสดงเพื่อช่วยให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
      เนื้อหาจะกล่าวถึงวิธีการเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงของบาหลีที่สำคัญๆ  รวมถึงความเชื่อมโยงกับหลักการทางศาสนาและวัฒนธรรมพื้นฐานบางอย่างที่แสดงในงานศิลปะ มีการอธิบายถึงศิลปะการแสดงรูปแบบเฉพาะเช่น Gamelan Gong Kebyar, Gambuh, Legong Keraton, Baris, Wayang Kulit และปรากฏการณ์ใหม่ของกลุ่มเด็กและสตรี  รวมถึงวิวัฒนาการของแต่ละสถานที่ที่มี วัฒนธรรมของบาหลี
 ศิลปะการแสดงของบาหลี มีต้นกำเนิดมาจากการทำหน้าที่เป็นพิธีกรรมหากไม่ใช่พิธีกรรมในตัวเอง  แม้แต่รูปแบบศิลปะร่วมสมัยที่มีความเชื่อโยงกับการเต้นและโรงละครก็มีความงดงามตั้งแต่เครื่องแต่งกาย ไปจนถึงการเคลื่อนไหว ที่มีลักษณะโผเข้าหาจังหวะ ไปจนถึงการปรับตัวของนักแสดง  เพลงแนวระนาดบาหลี เป็นเพลงที่สนุกสนานและผ่อนคลายได้ในเวลาเดียวกัน  การแสดงหุ่นกระบอกของบาหลีในแต่ละครั้งถูกปกคลุมไปด้วยเสียงก้องของผู้ชม โดยมีการเรียนรู้ทางศิลปะการแสดงเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย และได้รับการสนับสนุนจากคนในชุมชน  ส่งผลให้คุณค่าทางวัฒนธรรมขั้นพื้นฐานถูกถ่ายทอดผ่านทางศิลปะ และสะท้อนให้เห็นผ่านการแสดงและเสียงดนตรี
สะท้อนให้เห็นว่าการแสดงในบาหลีพัฒนาขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ โดยที่ผู้เขียนจะมุ่งเน้นไปที่ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิมและสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อดนตรีร่วมสมัยระนาดเอก นาฏศิลป์ ละครและหุ่นกระบอกที่มีมาจนถึงปัจจุบัน เป็นที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายอีกด้วย
Lisa Gold  (2548) หนังสือเรื่อง  Music in Bali: Experiencing Music, Expressing Culture หนังสือเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายที่มีการเขียนชี้ให้เห็นว่าถ้าอยากรู้ความเป็นบาหลีจริงๆนั้น ผู้คนส่วนมากจะตระหนักถึงประวัติศาสตร์ ระบบศักดินาของสังคมที่มีมาหลากหลายศตวรรษ ซึ่งส่งผลให้เกิดลำดับชั้นของสังคมบาหลี มีผลกระทบมาจากการปกครองของอาณานิคมดัตช์ หรือไม่ก็ต้องเข้าใจถึงอิทธิพลและระบบของรัฐบาลอินโดนีเซียและการถูกโจมตีในด้านการท่องเที่ยวหรือมลพิษทางด้านต่างๆ  แต่หนังสือเล่มนี้จะพาไปสัมผัสกับอีกแง่มุมหนึ่งของบาหลีสมัยใหม่ ที่มีการเชื่อมโยงไปยังวิถีชีวิตและโลกทัศน์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผสมผสานเข้ากับศาสนา สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ   มีทั้งการแสดงของผู้คน มีครูผู้สอน และหุ่นกระบอกประกอบการแสดงของชาวบาหลี
ที่กล่าวมาข้างต้น นั่นก็คือดนตรีของชาวบาหลี เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงประเพณี วัฒนธรรม  วิถีชีวิต ดนตรีชุดของบาหลี เป็นเพลงสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือขององค์กรทางสังคมของเกาะบาหลีแห่งนี้   ผู้เขียนนำเสนอผลงานการศึกษาร่วมกับนักแสดงชาวบาหลีในสหรัฐอเมริกาและการทำงานภาคสนามในบาหลีอย่างยาวนาน   โดยนำเสนอการแสดงบาหลีร่วมสมัยภายใต้บริบททางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เชื่อมโยงอดีตอันยาวนานของบาหลีกับบทบาทปัจจุบันในสังคมยุคโลกาภิวัตน์  แสดงให้เห็นว่าการประพันธ์เพลงใหม่ได้มาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมแต่ก่อน ในขณะที่ยังช่วยให้วัฒนธรรมของผู้คนมีชีวิตชีวา  โดยการบรรเลงเพลงร่วมกับการแสดงต่างๆ ตั้งแต่การแสดงหุ่นไปจนถึงละครเต้นรำ ดนตรีบาหลีแสดงให้เห็นว่าดนตรี การเต้นรำ โรงละครและพิธีกรรมนั้นเชื่อมโยงกันอย่างไรบ้าง  
ภาวินี บุญเสริม (2551) บทความเรื่อง นาฏศิลป์บาหลี   ตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารศิลปกรรมสาร ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ที่มีการรวบรวมผลงานทางวิชาการและนำมาเผยแพร่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอประสบการณ์ทางศิลปะในรูปแบบต่างๆในสังคม แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจความงามของศิลปะในอดีตที่มีความสัมพันธ์กันในปัจจุบัน โดยรูปแบบการนำเสนอจะนำเสนอเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวบาหลี ศาสนสถานต่างๆ ศิลปะการแสดง ละครรำ รวมไปถึงการเรียนการสอนนาฏศิลป์บาหลี
เนื้อหาในเล่มนี้เกี่ยวกับงานศิลปะดนตรีนาฏศิลป์บาหลี ทำให้เห็นว่านอกจากวิถีชีวิตยังคงรากฐานของวัฒนธรรมที่เข้มแข็งแล้ว ในทางศิลปะก็เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะการแสดงนาฏศิลป์บาหลี ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญต่อประเพณีและชีวิตประจำวันของผู้คนเป็นอย่างมาก พิธีกรรม การรำและละครมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับศาสนาของชาวบาหลี (สุรพล วิรุฬห์รักษ์, 2544) ชาวบาหลีล้วนมีจิตวิญญาณของความเป็นศิลปินอยู่ในตัว เด็กๆจะได้รับการถ่ายทอดจากวิถีชีวิตหรือซึมซับกันทางสายเลือดก็ว่าได้ กิจกรรมในชีวิตประจำวันก็มีดนตรีและนาฏศิลป์เป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น จึงไม่แปลกที่ชาวบาหลีส่วนใหญ่สามารถเล่นดนตรีและร่ายรำได้ไปพร้อมกัน
ลักษณะลีลาการร่ายรำของนาฏศิลป์บาหลีนั้น จะมีลักษณะของการอ่อนช้อยผสมผสานกับการรุกเร้าหรือแรงสลับกับท่าทางที่สงบนิ่งที่สุด  ละครรำของบาหลีที่เล่นมากที่สุดก็คือ เรื่องมหาภารตะ  รองลงมาคือเรื่องรามายณะหรืออาจมีการผูกเรื่องเป็นละครพื้นบ้านก็มีเช่นกัน ส่วนใหญ่ในเรื่องเกี่ยวกับตำนานรักประวัติศาสตร์การผจญภัย การทหารคล้ายกับละครจักรจักรๆวงศ์ๆของทางบ้านเรา
เนื้อหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าบาหลีได้มีการเจริญทางศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ศิลปะยังคงมีการขับเคลื่อนและพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง สิ่งหนึ่งที่ทำให้ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้ ก็คือความเก่าแก่ของสังคมบาหลีที่ได้รับอิทธิพลจากภายนอกน้อยมาก เมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆความเป็นบาลีและความร่ำรวยทางวัฒนธรรม ทำให้มนุษย์สามารถรักษาความเก่าแก่และคงความเป็นบาลีที่บริสุทธิ์ในด้านศิลปกรรมเอาไว้ นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ทุกคนทุกมุมโลกต่างมุ่งหน้าไปศึกษาเรื่องราวบาหลีเมืองที่ยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรม
มานพ ถนอมศรี  (2552) หนังสือเรื่อง  ราชา-ราชินี ที่โลกไม่ลืม  เป็นการรวบรวมเรื่องราวของกษัตริย์และราชินีของราชวงศ์ต่างๆทั่วโลก ที่มีการปกครองโดยระบอบกษัตริย์ ที่อาจจะล้มเลิกไปแล้วและยังคงดำรงอยู่ มีการสอดแทรกเกร็ดความรู้ต่างๆ ไว้เพื่อความรู้แก่ผู้ต้องการศึกษาในเรื่องของประวัติศาสตร์โลก  โดยจะชี้ให้เห็นตั้งแต่โบราณกาล เมื่อผู้คนรวมตัวกันจนสามารถก่อร่างสร้างตัวจัดตั้งบ้านเมืองเป็นของตนเองขึ้น มีผู้นำที่ผู้คนยอมรับว่าเป็นผู้ปกครอง หลังจากนั้นก็จะมีการพัฒนารูปแบบการปกครองขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถสร้างรูปแบบเฉพาะตนขึ้นมาได้
โดยจุดมุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้ มีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการตีแผ่เรื่องราวของพระมหากษัตริย์ พระราชินีจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้งประเทศที่ยังปกครองโดยพระมหากษัตริย์ และประเทศที่เคยมีการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปแล้ว รวมถึงเรื่องราวสาระน่ารู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศนั้น ๆ ที่นับว่ามีความน่าสนใจอย่างมาก
มีงานเขียนที่เกี่ยวกับบาหลี เป็นการเขียนถึงการเข้ามาของชาติตะวันตกที่ต้องการเข้ามาเพื่อครอบครองเกาะบาหลี ที่นับว่าเป็นเกาะสวรรค์ มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก หลังจากที่สงครามนโปแลนด์ยุติลง ในปี ค.. 1816 อินโดนีเซียจึงตกเป็นอาณานิคมของฮอร์ลันดา มาจนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2  แม้ว่ารัฐต่างๆ ในชวา สุมาตราและมลายู ต้องเผชิญกับปัญหาที่ตะวันตกเข้ามาแทรกแซง การปกครองจากชาติตะวันตก อันได้แก่โปรตุเกสและฮอลันดาจนบางครั้งต้องทำสงครามระหว่างกันเอง ก่อนอินโดนีเซียจะตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดา เกาะบาหลีภายใต้การปกครองของราชาทั้งแปดก็ยังคงครองความเป็นอิสระรอดพ้นเงื้อมมือของนักล่าอาณานิคมตะวันตกอยู่ได้ ทำให้สงครามระหว่างบาหลีกับฮอลันดาจึงระเบิดขึ้นและมีการติดต่อกันอีกหลายครั้ง
จนกระทั่งในปีค.ศ. 1894 ฮอลันดาจึงใช้กำลังทหารเข้ายึดครองลอมบอกซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของบาหลี แต่ราชาแห่งบาลีสามารถหยุดยั้งการบุกเกาะบาหลีของฮอลันดาไว้ได้ กระทั่งปี  .. 1906 กองเรือรบถึงเข้าโจมตีและยึดเมืองเดนปาซา ของแคว้นบาดุงไว้ได้ จนทำให้กษัตริย์ในสมัยนั้นได้พร้อมใจกันฆ่าตัวตายตามจารีตประเพณีของชาวบาหลีซึ่งถือว่าเป็นเกียรติสูงสุด  จึงทำให้ในปีค. ศ. 1988 บาหลีจึงตกเป็นหนึ่งในอาณานิคมของฮอลันดา(ประเทศเนเธอแลนด์ในปัจจุบัน) ประมาณ 55 ปีก่อนคริสตกาลดินแดนส่วนที่เป็นที่ตั้งของประเทศเนเธอแลนด์เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจูเลียสซีซาร์ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งโรมัน
การทบทวนหนังสือเล่มนี้ทำให้เข้าใจว่ากษัตริย์ที่ปกครองในเนเธอแลนด์ในยุคนี้มี 2 สมัย คือสมัยที่เนเธอร์แลนด์ปกครองในระบอบสหพันธรัฐและปกครองในระบอบราชอาณาจักรทั้งสองสมัยนี้กษัตริย์ใหญ่ล้วนชื่อว่าวิลเลียม เช่น กษัตริย์พระองค์แรกแห่งสหพันธรัฐชื่อว่ากษัตริย์วิลเลียม ที่ 1 แห่งราชวงศ์ออเรนจ์ และกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชอาณาจักรมีชื่อว่ากษัตริย์วิลเลียมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ และกล่าวได้ว่ากษัตริย์วิลเลียมทุกพระองค์ของเนเธอแลนด์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าฮอลันดาเป็นกษัตริย์ที่แผ่อำนาจด้านพาณิชยนาวีเพื่อล่าอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนการแทรกแซงเข้ามาในเกาะบาหลีเริ่มต้นในสมัยของกษัตริย์วิลเลียมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ โดยมีการนำเสนอเรื่องราวผ่านผู้ปกครองหรือกษัตริย์ ที่ต้องการเข้ามาเพื่อเป็นผู้ครอบครองเกาะบาหลีโดยผ่านกษัตริย์แต่ละรุ่น อย่างวิลเลียมที่ 1 2 3 และ4  จนในสุดก็เข้าครอบครองเกาะบาหลีได้ในที่สุด ในช่วงกษัตริย์วิลเลียมที่ 4 บาหลีจึงตกเป็นของฮอลันดานับตั้งแต่นั้น
จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้รักชาติบาลีได้ลุกขึ้นต่อสู้กับกองทหารของฮอลันดา หลังจากต่อสู้กับชาวบาหลีและอินโดนีเซียรักชาติอยู่หลายปี ในที่สุดฮอลันดาหรือเนเธอแลนด์ก็ต้องจำใจคืนอิสรภาพแก่ชาวบ้าน และบาหลีก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของนูซาเตงการา อันเป็นเขตการปกครองหนึ่งของอินโดนีเซียหลังจากตกอยู่ใต้การปกครองของชาติตะวันตกเป็นเวลานาน

รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี  (2558)   บททความเรื่อง ศิลปะชวา ตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ มติชน  เป็นงานเขียนที่ถือว่าสำคัญของ รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี วารสารเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการตำราประวัติศาสตร์ศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกสารคำสอนที่เป็นศิลปะในประเทศอินโดนีเซีย มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจในศิลปะอินโดนีเซีย เป็นส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจเพื่อนบ้าน นำไปสู่ความเข้าใจในความที่แตกต่างกันและการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันในประชาคมเดียวกันได้ โดยหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงศิลปะชวา ในเรื่องของข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบาหลีเกี่ยวกับเทวาลัยในบาลี ประเภทของเทวาลัยอยู่ในศิลปะบาหลีและยังมีแผนผังเทวลัยปุระในศิลปะบาหลีรวมไปถึงศิลปะบาลีภาคเหนือสกุลช่างสิงคราชา เป็นต้น
โดยในเนื้อหาของวารสารได้กล่าวถึงว่า ศิลปะในประเทศอินโดนีเซียมีศูนย์กลางสำคัญที่เกาะชวาและบาหลีมีพัฒนาการตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 ภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะคติทางศาสนาและวัฒนธรรมจากอินเดียโดยมีพัฒนาการมาเป็นลำดับ จนในที่สุดความเป็นพื้นเมืองอินโดนีเซียได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมในระยะหลัง ศิลปะในประเทศอินโดนีเซียที่อยู่ภายใต้วัฒนธรรมฮินดู-พุทธนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะคือ ศิลปะชวาจะเป็นพุทธศตวรรษที่ 12-16 ศิลปะชวาภาคตะวันออกพุทธศตวรรษที่ 16-20 และศิลปะบาหลีทศวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน
โดยได้กล่าวถึง ศิลปะบาหลี (Balinese Art )ว่าได้เกิดขึ้น เมื่อศาสนาอิสลามเผยแพร่เข้ามาในเกาะชวา ทำให้ชาวฮินดูจำนวนมาก อพยพเข้าสู่บาหลี กระบวนการนี้ปรากฏอย่างชัดเจนเมื่อราชวงศ์มัชปาหิตล้มสลายในพุทธศตวรรษที่ 20 ด้วยเหตุนี้เกาะบาหลี เป็นเกาะที่รักษาวัฒนธรรมและมีสถานะเป็นแบบชวาตะวันออกจนถึงปัจจุบัน ระยะนี้ศาสนาฮินดูได้เข้ามาปะปนกับความเชื่อพื้นเมือง จนกลายเป็นศาสนาพิเศษของเกาะบาหลี ส่วนแนวโน้มของเทวาลัยในระยะนี้มักวางผังตามที่ราบเนินเขา มีการแบ่งผังเป็นลานและสถาปัตยกรรมแบบพิเศษ เช่น ปานุมาน ปัทมาสนะ เมรุ จันทิเบนตา เป็นต้น ศิลปะบาลีจะเป็นในเรื่องของศาสนาฮินดูปะปนกับลัทธิพื้นเมืองจนกลายเป็นพื้นเมืองอย่างแท้จริงตัว อย่างเช่น Besakih, Kehen, Taman Ayun, Ulun Danu, Gunung Kawi, Goa Gajah
หนังสือเล่มนี้สะท้อนให้เห็นว่า ศิลปวัฒนธรรมถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญ ตั้งแต่เดิมของผู้คนในภูมิภาคนี้มีพัฒนาการมาในลักษณะเดียวกันตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการพบหลักฐานว่าผู้คนในภูมิภาคนี้เริ่มมีการติดต่อซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดงานศิลปกรรมที่เกิดจากความเชื่อในเรื่องของศาสนา เชื้อชาติ ศาสนาฮินดูมีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าและลัทธิเทวราชาทำให้มีการสร้างสถานที่มีความยิ่งใหญ่มั่นคง ศาสนาพุทธมีความเชื่อเรื่องนิพพานสูงสุด เพราะฉะนั้นการสร้างสรรค์เป็นเพียงพิธีกรรมทางศาสนาที่เรียบง่าย และเหมาะกับคนในสังคม ดังนั้นความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของงานศิลปกรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสะท้อนความคิด ความเชื่อ ศาสนาของแต่ละชนชาติที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะเป็นศาสนาเดียวกัน แต่รูปแบบศิลปกรรมย่อมมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมทาง เช่น ปราสาทที่สร้างในศิลปะชวา ต่างจากปราสาทเขมรและประสาทจาม หรือเจดีย์ในศิลปะพม่าก็มีลักษณะรูปร่างและแบบที่ต่างกันจากเจดีย์ในประเทศไทย
รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี  (2560)   หนังสือเรื่อง ประวัติศาสตร์ศิลปะ: อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุดมุ่งหมายสำคัญของหนังสือเล่มนี้ เพื่อเป็นตำราสำหรับการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรูปแบบการเขียนจะยึดตามลำดับเรื่องและลำดับภาพโดยมีการอ้างอิงจากหนังสือของศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เป็นหลัก และยึดตามแนวทางของศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจศิลปกรรม ซึ่งได้รับมรดกตกทอดจากอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หนังสือเล่มกล่าวถึง ศิลปะบาหลีเกิดขึ้นภายหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรมัชปาหิต การแพร่เข้ามาของศาสนาอิสลามสู่เกาะชวา ส่งผลให้ชาวฮินดูพากันอพยพโยกย้ายไปยังเกาะบาหลี ในพุทธศตวรรษที่ 21 เกาะบาหลีจึงกลายเป็นพื้นที่ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมแบบฮินดูแบบชวาตะวันออก สืบมาจนถึงทุกวันนี้ทำให้ชาวบาหลีมีความเชื่อและนับถือภูเขาขนาดใหญ่ว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประทับของเทพเจ้าเทียบได้กับเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระศิวะ ดังเช่น ภูเขาไฟอากุง ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่มีความสูงมากที่สุดในเกาะบาหลีและเชื่อว่าเป็นที่ประทับของพระศิวะ ทางด้านหน้าจึงมีการสร้างเทวาลัยบูชาพระศิวะที่มีชื่อว่า  “ปุระเบซากิห์” ซึ่งถือเป็นสถานที่สำคัญที่สุดในเกาะบาหลี
สถาปัตยกรรมโคปุระในศิลปะบาหลีทำเป็นยอดแบบวิมานไม่มีสถูปิกะประดับอีกต่อไป บางครั้งทำเป็นประตูผ่าซีกซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในศิลปะบาหลี
วัดในศิลปะบาลีเรียกว่า “ปุระ” (คำนี้ในภาษาสันสกฤตแปลว่าเมืองที่มีป้อมปราการแต่ภาษาบาลีหมายถึงวัด) นิยมสร้างขึ้นบริเวณที่ราบเชิงเขาโดยสมมติให้พื้นที่ด้านหน้า ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำเป็นบาดาลและโลกมนุษย์ ส่วนด้านบนซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารเป็นที่ประทับของเทพเจ้า และอยู่สูงกว่า เปรียบเป็นสวรรค์
ปัทมาสนะ” เป็นที่ประทับของเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพื้นเมืองของบาหลีตั้งอยู่กลางแจ้ง สร้างเป็นบัลลังก์เปล่า ไม่มีรูปเคารพใดๆอยู่เลย เนื่องจากศิลปะบาหลีไม่มีการนับถือรูปเคารพ บัลลังก์นี้สร้างด้วยหินสวนฐานมี 3 ชั้น หมายถึงภพภูมิของจักรวาลที่ประกอบด้วยบาดาล โลกมนุษย์ และสวรรค์ซึ่งเป็นความเชื่อที่มีพื้นฐานมาจากศาสนาฮินดู
อาคารที่มีหลังคาลาดซ้อนชั้นตามคติปราสาทในศิลปะบาลีเรียกว่า “อาคารทรงเมรุ” ซึ่งสื่อถึงความเกี่ยวข้องกับเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางจักรวาล ภายในอาคารเป็นที่ประทับของเทพเจ้าแต่ไม่มีการนับถือรูปเคารพจึงเป็นอาคารเปล่า สร้างด้วยเครื่องไม้มุงฟาง ซึ่งทำให้ต้องคอยดูแลบำรุงรักษาอยู่เสมอ
ซุ้มประตูแยก(Candi Bentar) เช่น ซุ้มประตูที่ปุระเกเห็น (Pura Kehen) เป็นรูปแบบของซุ้มประตูที่มีการสร้างกันมาตั้งแต่ศิลปะชวาภาคตะวันออกแล้ว แต่นิยมสร้างมากขึ้นในศิลปะบาหลีจึงถือเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นในแง่ของการใช้งานซุ้มประตู เช่นนี้ช่วยทำให้ผู้คนที่มักเทินของของไว้บนศีรษะจนสูง รวมไปถึงขบวนแห่สิ่งของที่มีความสูงเพื่อมาสักการะเทพเจ้าสามารถผ่านเข้าออกได้สะดวก
สสว. SME (Knowledge Center)  (2561) บทความเรื่อง โมเดลธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในบาหลี   บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการนำเสนอความเป็นบาหลีผ่าน “แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน” ที่รัฐบาลบาหลีนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังและมีการส่งเสริม "การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ" ให้ได้ผลอย่างแท้จริง เนื่องจากจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถเป็นแหล่งรายได้ที่มั่นคงของชาวบ้าน ช่วยให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่วิถีชีวิตเริ่มไม่มั่นคง เพราะประสบปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าหรือจับปลามากเกินขนาด ให้เปลี่ยนอาชีพมาทำงานด้านการท่องเที่ยวแทน
ไม่เพียงแต่ในระดับชาวบ้านเท่านั้น การพัฒนาในบาหลีโดยรวมก็เจริญรอยตามแนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยมีรัฐบาลท้องถิ่นเป็นฝ่ายผลักดันและได้รับความร่วมมือจากนักธุรกิจนักพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) และชาวบ้าน อาจกล่าวได้ว่า "การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน" ของบาหลีมีจุดกำเนิดอย่างเป็นทางการ  เมื่อรัฐบาลบาหลีต้อนรับทีมผู้เชี่ยวชาญจาก Canadian International Development Agency (CIDA) ของแคนาดามาช่วยวางแผน "โครงการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบาหลี" (Bali Sustainable Development Project หรือย่อว่า BSDP) ร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่น ทีมผู้เชี่ยวชาญมองเห็นศักยภาพของการท่องเที่ยวบนเกาะบาหลีว่าจะเป็นหัวจักรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นไปอีกนาน แต่ก็มองเห็นด้วยว่านี่เป็นธุรกิจที่จำเป็นจะต้องมีการวางแผนและประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสูงที่สุด CIDA เสนอตั้งแต่ต้นว่าการท่องเที่ยวในบาหลีจะยั่งยืนได้จริง ก็ต่อเมื่อมันได้รับการพัฒนาในทางที่สอดคล้องกับ "ศักยภาพด้านทรัพยากร" ของเกาะเท่านั้น
รัฐบาลบาหลีรับมอบแผนที่เพื่อการท่องเที่ยวจาก BSDP ตกลงจัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่มีหน้าที่ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนา (environmental impact assessment) โดยเฉพาะตามคำแนะนำของ BSDP และตกลงที่จะส่งเสริม "การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน" ต่อไปภายใต้เป้าหมาย "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" โดยรวมของเกาะซึ่งในนิยามของบาหลีหมายถึง "การสงวนความต่อเนื่องของทรัพยากรธรรมชาติ","การสงวนความต่อเนื่องของวัฒนธรรมและความสมดุลภายในวัฒนธรรม" และ "กระบวนการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชาวบาหลี"
บทความนี้สะท้อนให้เห็นว่า ก่อนที่บาหลีจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จ มีจัดทำแผนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะบาหลีอย่างยั่งยืน มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรัดกุม เพื่อให้การท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกับศักยภาพด้านทรัพยากรพร้อมกัน แต่ถ้ามองย้อนกลับไปในช่วงปฏิวัติเขียว บาหลีเคยได้รับบทเรียนราคาแพง เรื่องการวางแผนพัฒนาพื้นที่ ในสมัยที่ประธานาธิบดีซูฮาร์โต รัฐบาลได้นำเข้าเทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่จากโลกตะวันตกเข้ามาให้เกษตรกรชาวบาหลีปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงเพื่อเพิ่มผลผลิตและส่งเสริมให้เกษตรกรพยายามปลูกข้าวบ่อยครั้งที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงตารางเวลาใช้น้ำ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาแมลงศัตรูพืชและยาฆ่าแมลงปนเปื้อนในดินและน้ำ และปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ชี้ให้เห็นว่าบทเรียนในครั้งนั้น จึงก่อให้เกิดเป็นบาหลีที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันงดงามในทุกๆด้าน อย่างทุกวันนี้

สำหรับงานเขียนเชิงวิชาการ ได้สะท้อนให้เห็นถึง เรื่องราวประวัติศาสตร์ของบาหลีผ่านมิติต่างๆและลีลาของผู้เขียนแต่ละท่านไว้อย่างน่าสนใจ เช่น 1) การเข้ามาของดัตช์ ที่เข้ามาเยือนบาหลีเป็นครั้งแรก ในปี ค.. 1597 ซึ่งทำให้เกิดความหลงใหลในความงามของเกาะบาหลี กระทั่งมาขอมาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งนี้ 2) หลังจากดัตช์เข้ามาทำให้บาหลีเป็นที่รู้จักของโลกภายนอกและเมืองต่างๆ จึงทำให้บาหลีได้รับความเดือนร้อนจากดัตช์ (ฮอลันดา) เนเธอร์แลนด์ โดยเข้ามาผ่านกษัตริย์วิลเลียม 1 2 3และ4 เข้ามาเพื่อต้องการครอบครองเกาะบาหลี  3) ความโหดร้ายของ ดัตช์(ฮอลันดา)ที่ปฏิบัติต่อผู้คนบนเกาะบาหลี เข้ามาแย่งชิง กดดัน จนก่อให้เกิดการต่อสู้กันและผู้คนล้มตาย 4) การต่อสู้ของกษัตริย์บาหลีโดยตั้งตนเป็นกบฏ นำพาชาวบ้านรุกรานต่อสู้เพื่ออธิปไตย และยอมพลีชีพตนเอง เป็นวิธีที่รักษาเกียรติยศได้ดีที่สุด ทำให้ผู้คนนั้นยอมสละชีพตามกษัตริย์ กลายเป็นโศกอนาฏกรรมครั้งใหญ่ของบาหลี และก่อความไม่สงบเรื่อยมา  โดยงานเขียนที่โดดเด่นในประเด็นนี้ คือ   กบฏกริชบาหลี ของ ธีรภาพ โลหิตกุล ที่เขียนได้น่าสนใจมีการเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ทำให้เห็นเรื่องราวที่มีการยึดโยงระหว่างกันและชี้ให้เห็นในหลากหลายแง่มุมในเล่มเดียว
และนอกจากนั้นยังสะท้อนให้เห็น 1) ฮินดูบาหลีกับการดำรงอยู่ของบาหลีในทุกด้าน ยิ่งเกิดการพัฒนาให้เป็นฮินดูมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมมากมายของเกาะแห่งนี้ 2) งานสถาปัตยกรรมที่เกิดจากความเชื่อ ความศรัทธา โดยภายหลังมีการผสมผสานระหว่างศาสนาฮินดูที่เชื่อในเรื่องลัทธิเทวราชาและเทพเจ้า จนก่อให้เกิดสิ่งต่างๆ มากมายกับผู้คนมาจนถึงทุกวันนี้ 3) ความเป็นศิลปะบาหลี ผ่านสถานที่ต่างๆ   4)  วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อของผู้คนชาวบาหลีตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน  โดยงานเขียนที่เด่นในประเด็นนี้คือ ประวัติศาสตร์ศิลปะ:อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของรศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี  จะกล่าวถึงศิลปะชวาและบาหลีซึ่งเป็นศิลปะ สถาปัตยกรรมที่สำคัญของอินโดนีเซีย  และ Bali Style โดย ISBN CO.Ltd เมื่ออ่านแล้วรู้สึกได้ถึงรากเหง้าของบาหลี เปรียบเหมือนเป็นการได้ทำความเข้าใจความเป็นบาหหลีอย่างถ่องแท้ ด้วยการใช้ภาษาและพยายามหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจมาขยายความพร้อมกับภาพประกอบที่ให้ความรู้สึกเป็นสถานที่ที่ไม่ควรพลาดที่จะไปเยือน

















2.2  งานเขียนเชิงสารคดี
จากการรวบรวมข้อมูลจากงานเขียนหรือเอกสารต่างๆ พบว่ามีข้อมูลที่เกี่ยวกับงานเขียนเชิงสารคดีทั้งหมด 8   ชิ้น
ตารางที่ 2:งานเขียนเชิงสารคดี
ลำดับ
ชื่อหนังสือ
ชื่อผู้แต่ง
ปีที่พิมพ์(พ..)
1
เซลามัต มากัน!! อาหารบาหลี
ท้าวทอง เสียมหลอ
2535
2
โปงในบาหลี     
สุกรี เจริญสุข
2536
3
เสน่ห์ชวา:อารยธรรมเหนือแผ่นดินภูเขาไฟ บุโรพุทโธ-ย็อกยาการ์ตา-บาหลี
มิตรา จันทร์เงา
2539
4
ศิลปวัฒนธรรม:วัฒนธรรมงดงามที่บาหลี
บาหลี    เกริก ยุ้นพันธ์
2539
5
เที่ยวเองได้ง่ายๆ สบายกระเป๋า:บาหลี
เกตน์นิภา อมรธาตรี
2549
6
จากมะละกาถึงบาหลีในนามของพระเจ้าและพริกไทย  
สมพงษ์ งามแสงรัตน์
2552
7
เที่ยวถูก จูบโลก
อรินธรณ์
2554
8
Sukreni Gadis Bali
A.A.Pandji Tisna
2558

ท้าวทอง เสียม (2535)  บทความเรื่อง เซลามัต มากัน!! อาหารบาหลี ตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารศิลปวัฒนธรรมของมติชน ปีที่ 33 ฉบับที่ 8 วารสารเล่มนี้เป็นการเขียนที่ไม่ได้เจาะลึกหรือเป็นวิชาการมากนัก เน้นในเรื่องของความบันเทิง จากการที่ได้เดินทางไปยังเกาะบาหลี มีการใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไปจากการได้พบเห็นและจากประสบการณ์เดิมของผู้เขียนเอง โดยจุดมุ่งหมายของวารสารเล่ม เพื่อต้องให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิง เพลิดเพลินไปกับการอ่าน พร้อมกับรูปภาพประกอบและคำอธิบายใต้ภาพ
โดยเนื้อหาในวารสารเล่มนี้ได้กล่าวถึง อาหารในชีวิตประจำวันของชาวบาหลีจะต้องมีข้าวเป็นองค์ประกอบหลัก เหมือนในประเทศไทยที่ผู้คนมีอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่  ในบาหลีนั้นส่วนมากจะทำนาขั้นบันไดที่มีการทดน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ มีทั้งข้าวสวยและข้าวเหนียว และยังมีขนมพื้นบ้านที่คล้ายกับประเทศไทย มีการใช้ใบตองหอแทนการใช้โฟม เพื่อลดปัญหาของขยะไปได้อีกทาง  นอกจากนั้นยังมีศูนย์กลางให้ได้เลือกซื้อของ อย่างตลาดที่ผู้เขียนได้เดินไปจะมีของขายทุกประเภทแต่จะเน้นไปที่ผัก ผลไม้และขนม อาหารประเภทเนื้อสัตว์มีขายน้อย มองจากบริบทพบว่าบาหลีเป็นเกาะ แต่มีการจับปลาน้อยมาก เนื่องจากช่วงนั้น รัฐบาลเน้นในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ก็อาจเป็นไปได้
วารสารเล่มนี้สะท้อนให้เห็น วิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่าย ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ว่ากับมนุษย์ด้วยกันเอง และมนุษย์กับธรรมชาติ เพื่อให้เกินความสมดุล ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ความเป็นอยู่แบบนี้ในปัจจุบัน อาจจะหาได้ยากไปแล้ว เมื่อเทียบกับสมัยที่ผู้คนยังไม่รู้จักกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่มากับประโยชน์และโทษที่เห็นได้จากสังคมในปัจจุบัน
สุกรี เจริญสุข (2536)  บทความเรื่อง โปงในบาหลี ตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 14 ฉบับที่ 3   โดยจุดมุ่งหมายของบทความชิ้นนี้ เพื่อต้องการชี้ให้เห็นว่า “โปงบาหลี” เป็นความผูกพันระหว่างวิถีชีวิตกับโปง คน วัด กับโปง และยังเชื่อมโยงไปสู่ส่วนอื่นๆของชาวบาหลีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก จิตใจ จริยธรรมและคุณธรรม
เนื้อหาเกี่ยวกับโปงบาหลี โปงเป็นระฆังที่ทำด้วยไม้แต่ก่อนไม่มีระฆัง คนก็รู้จักโปง แต่เมื่อมีระฆังมาแทนคนก็จะรู้จักระฆังมากกว่า เพราะระฆังทำด้วยโลหะมีความทันสมัยรูปร่างสวยงามน่าบูชา คนให้จะความสนใจมากกว่า โดยโปงเป็นสมบัติของชาวบ้าน เป็นเครื่องทำเสียงที่ดังที่สุดที่มนุษย์ทำขึ้นในหมู่บ้านไม่มีเสียงอะไรจะดังได้มากกว่านี้ สิ่งที่สำคัญคือมนุษย์สามารถควบคุม เมื่อต้องการใช้เสียงก็จะตีให้ดัง ชาวบ้านจะเรียกโปงว่า “เลาะ” อ่านเป็นสำเนียงพื้นบ้านว่าล้อ ซึ่งเป็นคำเดียวกับคำที่ใช้เรียกในภาคใต้ของไทยมีความหมายเกี่ยวกับเกราะ ซึ่งโดยปกติทำด้วยไม้ไผ่ เพราะเป็นปล้องมีรูในตัวสมบูรณ์แบบอยู่แล้วโดยไม่ต้องเจาะทำช่องระบายลม เมื่อตีจะทำให้เสียงดังกังวานโปงทำด้วยไม้เนื้อแข็งโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่นไม้ นำไม้มาทำให้เป็นโพรงภายในเพื่อให้เป็นกล่องเสียงและปุ่มเสียงให้กังวาล
หมู่บ้านบนเกาะบาหลีทุกแห่งมีหอโปง เนื่องจากนับถือศาสนาฮินดูอย่างเคร่งครัด มีพิธีกรรมโบราณที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ที่สำคัญก็คือเป็นกิจกรรมที่ทุกคนทั้งหมู่บ้านทำร่วมกันในศาสนพิธี วัดจะมีหอโปงประจำอยู่ทุกๆวัด เพื่อใช้ในการให้สัญญาณต่างๆตามจำเป็น หอโปงของชาวบ้านทั่วไปก็ทำด้วยไม้เนื้อธรรมดามีเสา 4 ขาทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยใบมะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุหาง่ายของชาวบ้าน แต่ที่น่าสังเกตก็คือมีผ้าลายขาวดำตราหมากรุกห่อโปงทุกโปง น่าจะเป็นความหมายที่เกี่ยวพันกับความเชื่อ สำหรับไม้ตีโปงนั้นจะผูกเชือกแขวนไว้พร้อมที่จะตีไม้ทุกเมื่อ โดยทั่วไปและหอโปงจะก่อด้วยอิฐสำเร็จรูปมาก่อต่อกัน เพราะเมืองบาหลีเป็นเมืองดินเหนียวสามารถนำดินเหนียวมาเผาเป็นอิฐในรูปแบบต่างๆได้ นอกจากแขวนไว้ที่วัดแล้ว ยังมีการแขวนไว้ที่บ้านอีกด้วย ชาวบ้านนำโปงมาแขวนไว้ที่หน้าบ้านบนความเชื่อที่ว่าเสียงของโป่งสามารถขับไล่ผีได้ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความกลัว ทั้งความกลัวที่เป็นส่วนตัว และความกลัวที่เป็นส่วนรวม การเอาโปงมาแขวนไว้หน้าบ้านเป็นความกลัวและความเชื่อส่วนตัว ที่เชื่อว่าเสียงของปวงสามารถขับไล่ผีได้
เนื้อหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า โปงบาหลีเป็นความผูกพันระหว่างวิถีชีวิตของผู้คน ซึ่งความเป็นอยู่ของผู้คนนั้นมีความใกล้ชิดกับโปง คน วัดและโปงยังเชื่อมโยงไปสู่ส่วนอื่นของชาวบาหลีที่มีความหลากหลายในวิถีชีวิต เห็นได้จากโปงมักจะอยู่หัวมุมของวัด เพื่อให้ชาวบ้านได้เห็นได้ยิน และมีความผูกพันการฝังความรู้สึกเหล่านี้เอาไว้กับชีวิตนั้น แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องผีไม่ได้ออกจากใจชาวบาหลี เมื่อผียังอยู่ภายในจิตใจ จริยธรรม คุณธรรม สิ่งที่เป็นธรรมทั้งหลายได้เข้ามาปกครองสังคมแทนกฎหมายไปแล้ว
สุมิตรา จันทร์เงา  (2539) บทความเรื่อง   เสน่ห์ชวา:อารยธรรมเหนือแผ่นดินภูเขาไฟ บุโรพุทโธ-ย็อกยาการ์ตา-บาหลี  ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่17 ฉบับที่ 11 จุดมุ่งหมายของงานเขียนได้กล่าวอย่างชัดเจนในชื่อวารสารแล้ว เป็นการจูงใจให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงอารยธรรมความเป็นชวาเหนือแผ่นดินภูเขาไฟ ว่าเป็นที่น่าสนใจอย่างไร  อาศัยการเขียนในรูปแบบที่เป็นการเล่าเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณีที่โดดเด่นของชาวบาหลี สามารถรวมกันอยู่ได้ในพื้นฐานที่แตกต่างกันอย่างเหลือเชื่อ เน้นการเล่าเรื่องผ่านแต่ละสถานที่ตามลำดับ มีการใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไปในงานชิ้นนี้ด้วย พร้อมภาพประกอบ ทำให้ได้อรรถรสในการอ่าน
เนื้อหาที่เกี่ยวกับเกาะบาหลี ผู้เขียนงานชิ้นนี้ได้สร้างรูปแบบลีลาการเขียนที่ทำให้น่าสนใจ ทำให้ผู้อ่านอยากที่จะตามรอยอารยธรรมชวาแห่งนี้ โดยมีการเขียนถึงเกาะบาหลีว่า “มนต์เสน่ห์เกาะเทวาลัย”  โดยผู้คนส่วนใหญ่รู้สึกต่อบาหลีเป็นพิเศษต่างจากอินโดนีเซียโดยรวม ราวกับเป็นประเทศเฉพาะอีกประเทศหนึ่ง อาจจะเหมือนกับที่รู้จักฮาวายแบบฮาวาย ไม่ใช่รู้จักอเมริกา อาจเป็นเพราะว่ารากวัฒนธรรมอันแข็งแกร่งของคนพื้นเมืองที่ยังยึดมั่นเหนี่ยวแน่นอยู่กับความเชื่อและพิธีกรรมดั้งเดิม  และอีกด้านหนึ่งก็เปิดรับคนภายนอกเข้าไปทำความรู้จักใกล้ชิดด้วย
 ชาวบาหลีให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอย่างมาก เป็นฮินดูคติแบบชาวบาหลี มีการนับถือพระเจ้าที่มีส่วนผสมของลัทธิบูชาผีบรรพบุรุษกับพราหมณ์ฮินดูผสมอยู่ และสิ่งที่น่าประทับใจคือคนทุกเพศทุกวัยบนเกาะแห่งนี้มีศรัทธาต่อศาสนาอย่างแน่นแฟ้น วัดจึงเป็นหัวใจของชาวบาหลี ขณะที่ธรรมชาติของภูเขาเขียวขจี และท้องทะเลอันสวยงามเป็นเสมือนเครื่องนุ่งห่มที่คอยดึงดูดผู้คนให้เข้ามายังเกาะบาหลี  สิ่งเหล่านี้เป็นเสน่ห์ของบาหลีที่มีการผสมเข้ากับวิถีชีวิตพื้นบ้าน ไม่ว่าจะเป็นงานฝีมือในงานศิลปหัตถกรรม ทั้งงานแกะสลักรูปบูชาและเครื่องจักสานสำหรับเป็นภาชนะใส่เครื่องบูชาเทพเจ้า และนอกจากนั้นชาวบาหลีมีความเชื่อในเรื่อง ผี และ เทพ อย่างเหนียวแน่น บ้านทุกหลังจะมีหอผีศาลเทพ สร้างไว้บูชาในแต่ละบ้าน
เนื้อหาในงานเขียนเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงว่า ชาวบาหลีนั้นให้ความสำคัญและยึดมั่นในความเป็นวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ที่มีความผสมผสานให้เข้ากับผู้คนกลายมาเป็นสิ่งที่ดึงดูด ที่ไม่ใช่เพียงแค่การนำมาปรุงแต่งเพื่อมาขายหรือล่อให้คนแปลกหน้าเข้ามาเที่ยวเพียงอย่างเดียว แต่มันคือชีวิตประจำวันของผู้คนที่นี่จริงๆ  และความเป็นพื้นเมืองของชาวบาหลีที่มีความเชื่ออย่างเหนียวแน่นเช่นนี้ จึงทำให้มีบทบาทต่อการสร้างศิลปะและสถาปัตยกรรมที่สวยงาม อย่างเช่นเทวาลัย เป็นที่น่าสนใจในประเด็นที่เกี่ยวกับความเหมือนและความต่างระหว่าง ฮินดูอินเดียกับฮินดูบาหลี
เกริก ยุ้นพันธ์  (2539)   ศิลปวัฒนธรรม:วัฒนธรรมงดงามที่บาหลี  ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 18 ฉบับที่ 206 จุดมุ่งหมายของบทความชิ้นนี้ คือต้องการเล่าประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสไปสัมผัสถึงกลิ่นอายของวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนบาหลี เป็นดินแดนวัฒนธรรมที่มีมนต์เสน่ห์บนเกาะหนึ่งในจำนวนเกาะทั้งหมดหมื่นเจ็ดพันกว่าเกาะของอินโดนีเซีย  ที่มีธรรมชาติพรั่งพรู ศิลปะงดงาม วัฒนธรรมคงอยู่ ผู้คนยิ้มแย้ม โดยผู้เขียนอาศัยรูปแบบนำเสนอโดยเน้นไปวัฒนธรรมที่โดดเด่น และผู้คนบนเกาะบาหลียังคงมันทำอยู่ในชีวิตประจำวัน
ในส่วนของเนื้อหา ได้กล่าวถึงคนบาหลีว่าส่วนใหญ่ยังคงยึดพิธีกรรมแบบฮินดู เป็นหนึ่งในไม่กี่เกาะของอินโดนีเซียที่ผู้คนบนเกาะยังคงนับถือศาสนาฮินดู โดยคนบาหลีจะสร้างวัดไว้ใกล้กับต้นไม้ใหญ่และน้ำพุและถือว่าต้นไม้ใหญ่นั้นคือต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ น้ำพุคือน้ำศักดิ์สิทธิ์ทุกคนต้องดูแลรักษา คนบาหลีจะมีพิธีกรรมบูชาเทพเจ้าและตกแต่งหน้าบ้านและถนนหนทางให้ดูเป็นเทศกาล เช่นตามท้องถนนจะเห็นไม้รวกปักไว้ทั้งสองข้างทางและจะประดับประดาด้วยใบมะพร้าวอ่อนตกแต่งไว้สวยงาม โคมระย้าอ่อนห้อยพู่ดูสง่างาม ชาวบาหลีถือว่าเพื่อเป็นการต้อนรับเทพเจ้าเสด็จลงมาบาลี ทุกวันนี้จะไม่พบผู้หญิงเปลือยอกอย่างที่สมัยก่อน แต่จะมีบ้างที่จะเห็น จะมีแต่แม่เฒ่าบางคนเท่านั้น คนบาลียังคงใส่เครื่องแต่งกายเดิมๆของเขาไว้ โดยเฉพาะผู้หญิงเสื้อแขนกระบอกและสวมโสร่งลายสวยๆแปลกๆ 
ชาวบาหลีมีวัฒนธรรมการอาบน้ำร่วมกันเพื่อสร้างความรักสามัคคี สร้างความแน่นแฟ้น ดังนั้นทุกคนจะแก้ผ้าอาบน้ำร่วมกันตั้งแต่เด็กยันโต เสน่ห์ของบาหลีนอกจากวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนบาหลีแล้ว ยังมีศิลปหัตถกรรมที่พิเศษเป็นเอกลักษณ์ของบาลี เช่น การทำผ้าบาติก ผ้าปาเต๊ะ การแกะสลักไม้ งานสานและการทำเงินทำทอง ส่วนดนตรีนาฏศิลป์ชาวบาหลีมีลักษณะเฉพาะของบาหลี การแสดงของบาหลีที่มีชื่อเสียง คือบารองแดนซ์ แต่เดิมจะแสดงหรือเล่นเฉพาะในเทวาลัยเพื่อบูชาเทพเจ้า แต่ปัจจุบันกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติจะมีลักษณะเหมือนสิงโตของบ้านเรา บารองหรือสิงโตนี้เป็นสัตว์ในเทพนิยายฮินดู เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี บาหลีมีทุกๆอย่างเป็นแบบฉบับของตัวเอง บ้านเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะเป็นบ้านชั้นเดียว รัฐบาลได้ออกกฎหมายการสร้างสถาปนิกกันห้ามไม่ให้มีความสูงเกินยอดมะพร้าว ดังนั้นแล้วจะเห็นบ้านกับธรรมชาติบนเกาะบาหลีกลมกลืนงดงามกับฉากป่าภูเขา นอกจากป่า ทะเล และภูเขา ยังมีทะเลสาบที่สวยงามอย่างที่ติไม่ได้ ซึ่งภูเขาไฟและทะเลสาบอยู่คู่กัน
งานเขียนชิ้นนี้ทำให้สะท้อนถึงว่าวัฒนธรรมของบาหลีนั้นมีความงดงามและยังคงรักษาไว้อย่างเหนียวแน่น ทำให้ผู้คนนั้นมีความพอใจและภูมิใจในความเป็นบาหลี เหมือนญี่ปุ่นที่มีการรักษาวิถีชีวิตและความงดงามทางธรรมชาติและวัฒนธรรมไว้อย่างงดงามที่เมืองนาราและเกียวโต และเหมือนกับชนบทที่ห่างไกลในจีน แต่ก็ยังอดห่วงไม่ได้กับการที่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามาในบาหลี  ผู้คนอยากจะให้บาหลีเป็นเหมือนที่เคยเป็นอยู่ ผู้หญิงเทินถาดเดินไปเทวาลัยหรือเทินภาชนะใส่ของไปอีกที่หนึ่ง บ้านแบบบาหลี เกาะที่มีต้นไม้มากมายมีฉากภูเขาเหมือนภาพวาด น้ำทะเลสีเข้มคราม ผู้คนใจดียิ้มหัวเราะ ผลไม้และอาหารการกินสมบูรณ์และถ้าอีกสิบปี ยี่สิบปีและปีต่อต่อไปก็อยากให้บาหลีเป็นแบบเดิม อย่าให้เหมือนเกาะบางเกาะในประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
เกตน์นิภา อมรธาตรี (2549) หนังสือเรื่อง  เที่ยวเองได้ง่ายๆ สบายกระเป๋า:บาหลี  เป็นหนังสือนำเที่ยวหรือเป็นคู่มือให้กับผู้ต้องการไปเที่ยวบาหลีด้วยตนเอง สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการไปกับทัวร์หรือผู้ที่ต้องการประหยัดเงิน หรือต้องการไปหาประสบการณ์ด้วยตนเอง หนังสือเล่มก็เป็นแนวทางที่จะแนะนำตั้งแต่การซื้อตั๋วจนถึงกลับมายังมาตุภูมิของตนเอง  จุดมุ่งหมายของผู้เขียนคือ ต้องการเป็นเพื่อนเดินทางให้กับผู้อ่าน ไม่ว่าบาหลีจะอยู่ที่ไหน ก็จะไปให้ถึง ไม่ว่าจะไปคนเดียว เป็นคู่ เป็นกลุ่มเพื่อน ครอบครัว จะเก่งภาษาหรือไม่ ก็สามารถไปได้ทั้งนั้น จบภายในเล่มเดียว
สมพงษ์ งามแสงรัตน์ (2552)  บทความเรื่อง จากมะละกาถึงบาหลีในนามของพระเจ้าและพริกไทย  ตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 บทความเรื่องนี้เป็นงานเขียนแนวสารคดีท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ โดยคุณสมพงษ์ งามแสงรัตน์ มีอาชีพเป็นนักออกแบบและนักเขียน มีผลงานมาแล้วหลายชิ้นด้วยกัน ชิ้นนี้เป็นชิ้นแรกที่เล่าเรื่องการเดินทางในแถบคาบสมุทรมลายู สุมาตรา เกาะชวา และบาหลี มุ่งเน้น 4 เมืองสำคัญของ 2 ประเทศ คือ มะละกา จาร์กาต้า บันดุงและบาหลี  จุดมุ่งหมายในการเดินทางที่นำมาสู่บันทึกชิ้นนี้ เป็นการถาม-ตอบ เกี่ยวกับเรื่องราวระหว่างการเดินทาง คือเป็นบทสนทนาระหว่างผู้เขียนกับสถานที่ที่พานพบ บนเส้นทางที่ครั้งหนึ่งชาวตะวันตกสามารถเดินเรืออ้อมปลายทวีปแอฟริกาจนมาออกอินเดียได้ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15
บทความเรื่องนี้ไม่ใช่งานค้นคว้าทางวิชาการมากเท่าไหร่นัก เน้นการเล่าเรื่อง บรรยายด้วยภาษาเรียบง่าย มีภาพประกอบ ทั้งภาพถ่ายและภาพสเก็ตช์โดยผู้เขียนเองจึงทำให้ชิ้นนี้เป็นงานที่อ่านง่าย แต่ขณะเดียวกันก็มีเนื้อเรื่องที่ชวนอ่าน เพราะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรที่ไม่ค่อยปรากฏเรื่องราวรับรู้ในภาษาไทยเท่าไรนัก บทความเล่มนี้ มีการกล่าวถึงอินโดนีเซียว่า เป็นประเทศที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอยู่ในสังคมมาก แต่ละวัฒนธรรมดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสลับซับซ้อนอีกแห่งหนึ่งของโลก ชาวบาหลีมีวัฒนธรรมที่เนื่องมาจากศาสนาพุทธ ฮินดู และความเชื่อดั้งเดิม(ผีบรรพบุรุษ) เป็นที่มาของแหล่งวัฒนธรรมที่ดูแปลกไปจากอินโดนีเซีย ที่เกาะชวา ความแตกต่างดังกล่าว มีนัยยะถึงเรื่องราวเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ยุคการเข้ามาของอิทธิพลวัฒนธรรมมุสลิม ชาวหมู่เกาะส่วนใหญ่ที่มีวิถีชีวิตอยู่ตามแนวชายฝั่ง ไม่ว่าจะเป็นที่เกาะสุมาตราบอร์เนียว หรือชวา ต่างยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม บาหลีที่เป็นดินแดนตอนในปลอดภัยจากการรบกวนและรุกรานจากส่วนกลาง เป็นสถานที่สงบเหมาะแก่ผู้ที่เคร่งครัดในวัฒนธรรมเดิม แบบพุทธผสมพราหมณ์ จึงกลายเป็นสถานที่ลี้ภัยและถิ่นฐานของกลุ่มคนที่นับถือศาสนาเก่า อยู่
จนถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20เมื่อคลิฟฟอร์ด เกียร์ซ (Clifford Geerzt) นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันที่เข้ามาศึกษาสังคมบาหลีได้ สรุปความเห็นว่าความพยายามแสดงออกในขนบประเพณีและเป็นตัวแทนทางวัฒนธรรมแบบเก่า ก่อนการเข้ามาของอิสลามในอินโดนีเซีย ทำให้บาหลีมีลักษณะเป็น “รัฐนาฏกรรม” (Theatre State) ที่ต้องมีกิจกรรมการแสดงออกเกี่ยวกับประเพณีความเชื่อต่างๆ เหล่านั้นอยู่เสมอ ( อคิน ระพีพัฒน์, 2551) บาหลีจึงกลายเป็นแหล่งรวมประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซียไปในขณะเดียวกัน และการแบ่งพื้นที่ระหว่างชายฝั่งทะเลศูนย์กลางที่เป็นดินแดนของอิสลาม กับดินแดนตอนในที่เป็นเขตพื้นที่ของกลุ่มผู้เคร่งครัดและนับถือพุทธ-พราหมณ์ ทำให้สังคมอินโดนีเซียลดการเผชิญหน้าระหว่างความเชื่อที่แตกต่างกันของทั้งสองที่กล่าวมาข้างต้น
ความน่าสนใจของเล่มนี้อยู่ที่การนำเสนอเรื่องราวของสถานที่และผู้คน ในมิติเชิงประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรม การมองเชื่อมโยงและนำเอาเรื่องเล่าของผู้คนมานำเสนอ ทำให้เกิดงานที่มีเสียงเล่าและมุมมองของคนที่เล่าถึงอย่างลงตัว เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเต็มไปหมด ที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าหลายช่วงตอนจะขาดการอ้างอิงถึงที่มาของแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่ก็เข้าใจได้ในแง่ที่เป็นงานสารคดีประวัติศาสตร์ ไม่ใช่งานเขียนทางวิชาการมากนัก แต่จากประเด็นการอภิปรายหลายช่วงก็แสดงให้เห็นว่า ผู้เขียนได้อ่านค้นคว้าข้อมูลมาอย่างหลากหลาย จนนำไปสู่ความเข้าใจที่มีต่อสถานที่และเรื่องราวของผู้คนที่ประสบพบพานในระหว่างการเดินทาง


อรินธรณ์  (2554) หนังสือเรื่อง  เที่ยวถูก จูบโลก คือหนังสือเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ซึ่งผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นบันทึกช่วยจำที่จะทำให้ผู้อ่านอัดแน่นไปด้วยความสนุกเฮฮา นอกจากนั้นยังได้ท่องโลกไปในถิ่นที่มีความแตกต่างหลากหลาย ได้เรียนรู้ผู้คน รู้จักหลบหลีกกลโกงและกลเม็ดเด็ดจากบรรดาไกด์ผี พ่อค้าแม่ค้า ซึ่งจะทำให้การเดินทางไม่รู้สึกจืดชืด
เนื้อหาในงานเขียนชิ้นนี้มีการเขียนถึงสถานที่ท่องเที่ยวบาหลียอดฮิต กิจกรรมที่ไปแล้วต้องทำ หรืออาหารที่ต้องกัน ผสมกับลีลาการเขียนที่ไม่เป็นวิชาการ เน้นความบันเทิงแก่ผู้อ่านมากกว่า ไม่ได้ให้รายละเอียดของสถานที่มากนัก แต่ยังให้ความรู้สึกละมุนละไมเนิบช้าและเปี่ยมไปด้วยความสุข มีการเขียนรายละเอียดเล็กๆน้อยๆระหว่างทาง สามารถอ่านบันทึกนี้แล้ว เคลิ้มจนอยากจะไปบาหลีเลยก็ได้
Sukreni Gadis Bali   เป็นผลงานการเขียนของ A.A.Pandji Tisna   ตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ.2558 นวนิยายเรื่องนี้ เป็นวรรณกรรมคลาสสิคของประเทศอินโดนีเซีย ที่มีฉากเป็นทิวทัศน์สวยงามของเกาะบาหลีรวมถึงการแสดงภาพสังคมและวัฒนธรรมบาหลีที่น่าสนใจเป็นเรื่องราวของหญิงสาวงามคนหนึ่งที่มีชื่อว่า สุเกรณี การจัดทำหนังสือเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวโรกาสครบรอบ 65 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตของสาธารณรัฐอินโดนีเซียและประเทศไทย โดยจุดมุ่งหมายของการจัดทำหนังสือเล่มนี้ต้องการให้วรรณกรรมอินโดนีเซียเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในต่างประเทศมากยิ่งขึ้นและทำให้ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอินโดนีเซียและประเทศไทยแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันสามารถมอบสีสัน ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน
 ผู้แต่ง A.A.Pandji Tisna    เกิดในตระกูลขุนนางบาหลี เขาเป็นหนึ่งในนักเขียนบทประพันธ์ในยุคของนักกวีรุ่นใหม่ หนังสือเกือบทุกเรื่องที่เขาเขียนนั้น ประกอบไปด้วยเรื่องราวที่มีภูมิหลังเกี่ยวกับพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ของบาหลีซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความประทับใจ เนื่องจากบาหลีเป็นดินแดนที่มีสีสันทางวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ซึ่งศาสนาเข้าไปมีอิทธิพลต่อชีวิตเกือบทุกด้านของผู้คน มีการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับโชคชะตาที่มาพร้อมกับความเศร้าโศกและทุกข์ทรมานของผู้หญิงบาหลีคนหนึ่งซึ่งมีนามว่า สุเกรณีเรื่องเริ่มต้นจากการที่สุเกรณีถูกนายตำรวจจอมเจ้าชู้คนหนึ่งขืนใจ หลังจากนั้นก็ยังต้องพบความทุกข์ทรมานอีกจนกระทั่งในที่สุดเธอจำยอมรับโชคชะตาของตัวเองแล้ว นั่นเป็นสิ่งที่ถูกลิขิตไว้แล้ว
จากเรื่องราวดังกล่าวทำให้ได้พบประเด็นที่สำคัญว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้หญิงบาหลีส่วนใหญ่มีสถานะและความเป็นอยู่ที่ระดับต่ำ จนกระทั่งอาจถูกเอาเปรียบและถูกทำลายได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีอิทธิพลของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองระดับสูงอยู่ ถึงแม้ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว แต่เหตุการณ์ในนิยายเรื่องนี้ก็เป็นการนำเสนอภาพลักษณ์ของวัฒนธรรมในยุคก่อนหน้านี้ของบาหลีได้เป็นอย่างดี
สำหรับงานเขียนเชิงสารคดี สะท้อนให้เห็น ถึงการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับบาหลีที่เน้นไปทางด้านความบันเทิง พร้อมกับเกร็ดความรู้และถ่ายทอดโดยการเดินทางไปยังบาหลีด้วยตนเอง จึงนำมาบอกเล่าให้แก่ผู้อ่าน เน้นการเล่าเรื่อง บรรยายด้วยภาษาเรียบง่าย มีภาพประกอบ ทั้งภาพถ่ายและภาพสเก็ตช์ เช่น  1)  ความงดงามของสถานท่องเที่ยว อาหาร  โรงแรม กิจกรรม ยอดฮิตของเกาะบาหลีทั้งในอดีตจนมาถึงปัจจุบัน 2) ความแตกต่างของเกาะบาหลี กับเมืองอื่น ๆ ผ่านประสบการณ์ของผู้ที่เดินทางไปยังเกาะบาหลี 3) กลิ่นอายของวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนบาหลี เป็นดินแดนวัฒนธรรมที่มีมนต์เสน่ห์บนเกาะหนึ่งในจำนวนเกาะทั้งหมดหมื่นเจ็ดพันกว่าเกาะของอินโดนีเซีย  โดยงานเขียนที่โดนเด่นในประเด็นนี้ คือ Sukreni Gadis Bali   โดย  A.A.Pandji Tisna  เป็นวรรณกรรมคลาสสิคของประเทศอินโดนีเซีย  เป็นการเล่าเรื่องผ่านตัวละครเอกนำเสนอภาพลักษณ์ความเป็นบาหลีในช่วงนั้น และยังให้สีสันและความบันเทิงแก่ผู้อ่านได้













3) การศึกษาสถานภาพความรู้จากสื่อวิดีทัศน์
จากการศึกษาสถานภาพความรู้จากสื่อวิดีทัศน์ที่น่าเชื่อถือพบว่า มีงานศึกษาที่เกี่ยวกับบาหลีทั้งหมด 16 ชิ้น  ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่พ.ศ. 2552-2562  สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1) สารคดีเชิงวิชาการ 2) สารคดีเชิงท่องเที่ยว ดังนี้
3.1 สารคดีเชิงวิชาการ
จากการศึกษาข้อมูลจากสื่อวิดีทัศน์ พบว่ามีข้อมูลที่เกี่ยวกับสารคดีเชิงวิชาการ 7   ชิ้น
ตารางที่ 3:สารคดีเชิงวิชาการ
ลำดับ
ชื่อเรื่อง
ชื่อรายการ
ปีที่เผยแพร่(พ..)
1
ใกล้ตาอาเซียน : บาหลี เกาะแห่งศรัทธา
ThaiPBS
2557
2
ใกล้ตาอาเซียน : บาหลีในรอยวิถี: พิธีกรรมแห่งความตาย
ThaiPBS
2557
3
Spirit of Asia : วิถีพุทธแห่งบาหลี
ThaiPBS
2558
4
Spirit of Asia : ปีใหม่แบบบาหลี
ThaiPBS
2558
5
Spirit of Asia : ไก่ชนบูชายัญเกาะบาหลี
ThaiPBS
2560
6
Spirit of Asia : พิธีส่งวิญญาณของเผ่าบาหลีอากา
ThaiPBS
2560
7
เรื่องนี้มีตำนาน : ความเชื่อเรื่องน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ของชาวบาหลี
ThaiPBS
2561

ThaiPBS (2557) รายการ ใกล้ตาอาเซียน : บาหลี เกาะแห่งศรัทธา     เป็นสื่อวิดีทัศน์ที่นำเสนอให้เห็นถึงความศรัทธาของผู้คนที่มีความผูกพันธ์ระหว่างผู้คนกับวัดอย่างแน่นแฟ้น พิธีโอดาลัน เป็นพิธีกรรมฉลองวันเกิดเทวาลัย ในอดดีตก่อนที่จะมีหมู่บ้านหรือชุมชนจะต้องสร้างวัดขึ้นมาก่อน  เพื่ออุทิศและถวายแด่เทพพระเจ้า เมื่อครบรอบ 210 วันจะเชิญพระเจ้าลงมาประทับยังเทวาลัย เพื่อช่วยคุ้มครองจากสิ่งชั่วร้ายที่มารบกวนหมู่บ้าน ผู้ดูแลปุระ แอจารุกกล่าวว่า ในเทศกาลโอดาลัน ชาวบ้านจะเตรียมเครื่องบูชาเพื่อขอบคุณเทพเจ้าที่ประทานพร เราจึงศรัทธาในพระองค์ ไม่ว่าคิดหวังสิ่งใด ท่านจะอวยพรให้เราประสบผลสำเร็จ ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ปุระ แอจารุกเป็นชาวนา เราขอพรไม่ให้แมลงมาทำลายผลผลิตในไร่นา..”
ทุกห้วงเวลาแห่งความสุขที่ชาวบาหลีรอคอย นอกจากจะเป็นช่วงยามเวลาของการสวดมนต์แล้ว เทศกาลโอดาลันยังเป็นเทศกาลที่คึกคักไปด้วยเทศกาลพื้นบ้าน เดิมไก่ชนเป็นการบูชายัณของสิ่งมีชีวิต ถวายต่อวิญญาณชั่วร้ายเพื่อไม่ให้มาทำลายงานมงคลอย่างโอดาลัน แต่วันนี้ได้กลายเป็นเกมทางการแข่งขันที่มีการเดิมพัน แม้ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นแต่ศรัทธาที่มีต่อเทพเจ้ากลับไม่เคยเปลี่ยนไป
สื่อวิดีทัศน์ชิ้นนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า ทุกๆวันขบวนแห่งความศรัทธาจะเดินทางมายัง เประ เบซาดี สถานที่บูชาที่ใหญ่และสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของเกาะบาหลี ถึงแม้ว่าวัดหลวงจะเป็นสถานที่ที่เก่าแก่ แต่ชาวฮินดูทั่วไปก็มีสิทธิ์ใช้เทวาลัยแห่งนี้ เบซาเป็นวัดที่สำคัญสำหรับชาวฮินดู เป็นของทุกคนบนเกาะบาหลี ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นวัดของราชวงศ์และราชวงศ์ทุกครอบครัวบนเกาะบาหลี  และยังแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของผู้คน ที่กาลเวลาก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงพวกเขา
ThaiPBS  (2557) รายการ ใกล้ตาอาเซียน : บาหลีในรอยวิถี: พิธีกรรมแห่งความตาย    นำเสนอความอลังการยิ่งใหญ่ในงานพระพิธีศพของอดีตรานีแห่งกลุงกุง "อิดา เดวา อากุง อิสรี ปุตรา" บนเกาะบาหลี และความเชื่อที่ให้ความหมายกับประเพณีการตายมากที่สุด รวมถึงภาพรวมของพิธีกรรมศพและขบวนแห่ศพของชาวบาหลีที่น่าสนใจ จัดอย่างยิ่งใหญ่อลังกาลคือ มีขบวนคนหามโกศ ซึ่งจะมีการหามศพที่บรรจุในโกศ โดยมีทั้งของเซ่นไหว้ และสัตว์จำลองที่ทำขึ้น เช่น สัตว์ต่าง ๆ ในตำนานของชาวบาหลี ที่ทำขึ้นอย่างสวยงามใหญ่โต ใช้ในขบวนแห่ จนถึงเผาไปพร้อมกับศพอย่างอลังการ และผู้คนที่มาช่วยงานก็ถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งและเป็นการให้เกียรติผู้ตายไปในตัวด้วย
ที่น่าพิศวงอีกอย่างหนึ่งในเกาะบาหลีคือ ในเกาะเล็ก ๆ ของบาหลีนี้ ยังแบ่งเป็นหมู่บ้านต่าง ๆ กัน เทคโนโลยีชาวบ้านก็ต่างกัน ที่น่าสนใจคือหมู่บ้านตาบัว(Tabur) ริมทะเลสาป เชิงภูเขาคินตะมะนี(Kintamani) ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพการประมง ที่สำคัญคือ เวลาตายแล้วเขาจะไม่นำไปเผา แต่จะแบ่งสุสานเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับผู้ที่เคยแต่งงานแล้ว อีกส่วนสำหรับผู้บริสุทธิ์ สำหรับแห่งแรกจะให้ศพเน่าเปื่อยไปก่อนเหลือแต่กระดูกสีขาวเรียงราย แต่ส่วนหลังเก็บเป็นมัมมี่โดยใช้พืชชนิดหนึ่งรักษาให้ศพมีสภาพเหมือนเดิมตลอด
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความเชื่อและพิธีศพที่เรามักพบเห็นในสังคมปัจจุบันที่แม้เต็มไปด้วยบรรยากาศของความเป็นระเบียบและการปฏิบัติต่อศพตามวิทยาการสมัยใหม่ที่ไม่น่ารังเกียจ แต่ก็ได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเงียบเหงา วังเวง และความเป็นจริงที่ว่า ยิ่งความเจริญทางเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นเพียงไร ดูเหมือนความเป็นคุณค่าของมนุษย์นั้นก็ถูกลดลงมากขึ้นเท่านั้น
ThaiPBS  (2558)  รายการ Spirit of Asia : วิถีพุทธแห่งบาหลี  นำเสนอให้เห็นถึงว่าวิถีพุทธบนเกาะบาหลีแม้ว่าจะแวดล้อมไปด้วยวัฒนธรรมอันเข้มข้นของฮินดู  แต่ความเชื่อและความศรัทธาในวิถีพุทธก็ยังดำรงคงอยู่  มิได้ถูกกลืนหายไปตามกาลเวลา สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนว่า ศาสนาพุทธในบาหลีแตกต่างจากไทย คือที่บาหลีจะมีจำนวนพระสงฆ์ไม่มากนัก  แทบจะไม่น่าเชื่อว่าบนเกาะแห่งนี้มีจำนวนพระสงฆ์เพียง  5 รูปเท่านั้น  ซึ่งพระสงฆ์เหล่านี้ยังคงเป็นผู้ทำพิธีกรรมหลักในวันสำคัญทางพุทธศาสนา  ในส่วนที่เหมือนกันกับชาวไทยพุทธ คือพิธีกรรมสำคัญในชีวิตประจำวัน 
 พุทธศาสนิกชนบาหลีจะมีการนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น การทำบุญบ้าน  การทำบุญวันเปิดร้าน  มีวัดพุทธเก่าแก่ที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะบาหลี คือ วัดพรหมวิหารอาราม สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1970  โดยมีสถาปัตยกรรมโดดเด่นคือ บุโรพุทโธจำลอง ซึ่งจำลองมาจากพุทธสถานสำคัญบนเกาะชวา
ThaiPBS (2558)  รายการ Spirit of Asia : ปีใหม่แบบบาหลี นำเสนอถึงว่าชาวบ้านทุกหมู่บ้านทั่วทั้งเกาะบาหลีจะต้องประกอบพิธีกรรม “เมลัสตี” อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากวัดต่างๆ  มาทำพิธีชำระล้างทำความสะอาดที่ท้องทะเล   เป็นการชำระล้างทางจิตวิญญาณ เพื่อเตรียมความบริสุทธิ์ของหมู่มวลเทพเจ้า เพื่อต้อนรับวันปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ในแต่ละปีผู้คนในหมู่บ้านจะต้องร่วมปรึกษาหารือกันว่า ปีนี้จะคิดสร้างสรรค์ทำหุ่นโอโก-โอโก ออกมาในรูปแบบใด   หุ่น “โอโก-โอโก” มักมีลักษณะเป็นหุ่นเทพเจ้าในร่างอสูร เหตุผลที่ต้องทำเป็นหุ่นรูปร่างหน้าตาน่ากลัวเช่นนี้   เพราะมีความเชื่อในเรื่องการขับไล่สิ่งชั่วร้าย 
 วันปีใหม่ของชาวบาหลี ไม่ใช่วันแห่งการเฉลิมฉลองเหมือนประเทศอื่น แต่มันคือ “วันแห่งความเงียบ”  ทั้งนี้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติอันเคร่งครัดของชาวบาหลีทั่วทั้งเกาะ ไม่เว้นแม้แต่นักท่องเที่ยวชาวบาหลีเลือกที่จะมองเข้าไปถึงแก่นแท้ภายในจิตใจ เพื่อมอบความสงบให้เป็นของขวัญต่อจิตใจที่เหน็ดเหนื่อยและวุ่นวายมาตลอดทั้งปี  นับเป็นการก้าวข้ามผ่านช่วงปีที่เรียกคืนความคิดและจิตวิญญาณมาสู่ตัวตนได้ดีที่สุด
ThaiPBS  (2560) รายการ  Spirit of Asia : ไก่ชนบูชายัญเกาะบาหลี  นำเสนอถึงเรื่องของการชนไก่ที่จะนำเอาสัญชาตญาณการสู้เพื่อเป็นจ่าฝูงของไก่ตัวผู้มาใช้ในการแข่งขัน เป็นเกมกีฬาพื้นบ้านที่สะท้อนถึงวิถีชาวบ้านในแง่มุมความบันเทิง การแข่งขันชิงไหวชิงพริบ ตลอดจนการแสดงถึงอำนาจของเพศชาย ในสมัยโบราณหลังจากการสู้รบกรำศึกกับกองทัพศัตรู กษัตริย์บาหลีจะโปรดปรานชมการชนไก่มากเป็นพิเศษ ทั้งนี้เป็นเกมกีฬาที่ชมเพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด ตอกย้ำว่ามันเป็นความบันเทิงสำหรับผู้ชายบาหลีทุกชนชั้นมาแต่ครั้งโบราณ
การชนไก่ของบาหลีเรียกว่า "ทาเจน" ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาฮินดู ที่ได้สืบต่อมาเนิ่นนานจวบจนปัจจุบัน ความเชื่อที่ว่าก็คือ ก่อนวันสำคัญทางศาสนาซึ่งจะต้องมีการจัดงานพิธีกรรมที่วัด สิ่งหนึ่งที่จะต้องทำก่อนภายในเวลา 1-2 วันคือการบูชายัญเลือดแก่เหล่ามารและปิศาจใต้ปฐพี เรียกว่า ทาบูละ โดยจะมีการสวมมีด "ทาจีซังกัต" ที่เดือยบริเวณขาไก่ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ดูๆ ไปแล้วอาจโหดร้ายในสายตาของคนทั่วไป แต่นี่คือวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณ เพราะการชนไก่ของบาหลีต้องการเลือดไก่เพื่อบูชายัญนั่นเอง
ThaiPBS (2560) รายการ Spirit of Asia : พิธีส่งวิญญาณของเผ่าบาหลีอากา นำเสนอว่าบนเกาะบาหลียังมีเรื่องราวที่สืบสานคงไว้เป็นตำนานที่น่าสนใจหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือเรื่องราวของหมู่บ้านทรูนยัน ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของชาวบาหลีดั้งเดิม เรียกว่า "บาหลีอากา" ซึ่งแปลว่า ชาวบาหลีภูเขา เป็นกลุ่มคนบนเกาะที่อาศัยอยู่ก่อนการอพยพมาของชาวฮินดูจากเกาะชวาเมื่อครั้งอาณาจักรมัชปาหิตได้ล่มสลายลงจากการขยายอิทธิพลของชาวมุสลิม ในปี ค.ศ. 1515 ทำให้ชาวบาหลีอากาต้องถอยร่นมายังดินแดนทางตะวันออกของเกาะและดำรงอยู่จวบจนปัจจุบัน
วัฒนธรรมโดดเด่นที่ยังคงอยู่คือการทำศพแบบดั้งเดิมที่สุสานของหมู่บ้านซึ่งจะมีต้นไม้สำคัญคือ "ตารู เมนยัน" (taru menyan) แปลความหมายว่าต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม แผ่ร่มเงาปกคลุมทั่วสุสาน พวกเขาจะวางศพไว้บนพื้นดินและนำไม้ไผ่สานมากั้นไว้ โดยเชื่อว่ากลิ่นศพจางหายไปด้วยความพิเศษของต้นไม้ใหญ่ตารู เมนยัน โดยมีข้อแม้ว่าศพที่จะนำมาทำพิธีจะต้องตายด้วยสาเหตุสิ้นอายุขัยและเคยแต่งงานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างจากชาวบาหลีในพื้นที่อื่นที่มีพิธีกรรมเผาศพตามหลักศาสนาฮินดู
ThaiPBS   (2561) รายการ เรื่องนี้มีตำนาน : ความเชื่อเรื่องน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ของชาวบาหลี นำเสนอถึงความเชื่อว่าหากผ่านการชำระร่างกายจากน้ำพุศักดิ์สิทธิ์บูระ เตียต้า อังกู อย่างน้อยปีละครั้งทุกๆ 210 วันตามปฏิทินบาหลี ที่ครบเดือน 35 วัน จะช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หรือมาขอนำน้ำจืดไปใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิตที่อยู่๕กับบาหลีมายาวนาน โดยเฉพาะในบายิว ปีนาโร่ ที่คนบาหลีเชื่อว่าเป็นวันชำระร่างกายและจิตใจ แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง กว่าจะชำระครบ 12 บ่อ  โดยจะวางเครื่องสักการะที่มีอาหารและดอกไม้ในกระทงใบตอง บนแท่นปล่อยน้ำชำระวิญญาณตามคติฮินดู 
ตามความเชื่อของฮินดูเชื่อว่านี่คือแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนมาชำระร่างกายได้ทุกวัน ในวันบายิว ปีนาโร่ จะมีผู้คนจำนวนมากเป็นพิเศษ เป็นพื้นที่ที่ให้คนทั่วไปมาชำระร่างกายได้ แต่เดิมเตียต้า เป็นสถานประกอบพิธีการศาสนาของราชวงศ์เท่านั้น สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 1-14 สมัยราชวงศ์มาดาเรวา บนตาน้ำพุของถิ่นตะวันออกของเมืองเดนปาซา สร้างถวายพระวิษณุและให้ความเคารพมานานนับพันปี ต่อมาเปิดให้ชาวบ้านได้เข้ามาสักการะ แต่สงวนตาน้ำโบราณที่มีน้ำพุผุดขึ้นมาไม่ขาดสายเป็นพื้นที่อนุรักษ์ โดยมีเรื่องเล่าถึงภูเขาไฟกุงลุงอันกุง อันเป็นที่ประทับของทวยเทพตามความเชื่อ ตามตำนานใบลานกล่าวถึงพระอินทร์ที่ต่อสู้กับกษัตริย์มายาเดนาวาห์ ในดินแดนเทมปักซีริง แต่ทหารดื่มน้ำจากบ่อพิษสิ้นชีพ พระอินทร์จึงบันดาลน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นน้ำบริสุทธิ์ในฤดูใบไม้ผลิ จนเป็นความเชื่อที่สืบต่อมาของคนบาหลี
คนมาหลีเชื่อว่าน้ำพุที่ผุดขึ้นมาจากแผ่นดินมาจากเทพเจ้าหรือเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ แฝงความหมายของการบูชาเทพเจ้าใว้กับสถาปัตยกรรมอย่างรูปพระศิวะและพระแม่ปารวตี โดยจะขอพรทางด้านการเกษตร แม้ว่าเหล่าศาสนสถานที่ผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แต่ยังคงคู่กับความศรัทธา ความเชื่อที่ตั้งมั่นของผู้คนเสมอมา

จากการศึกษาสถานภาพความรู้จากสื่อวิดีทัศน์ทางด้านสารคดีเชิงวิชาการ พบว่าส่วนมากจะนำเสนอให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนกับความศรัทธาที่แสดงออกมาผ่านพิธีกรรมต่างๆและความผูกพันธ์ของผู้คนกับวัดที่มีมาอย่างยาวนาน ไม่เน้นการนำเสนอหรือยึดโยงถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์มากเท่าไหร่นัก เนื่องจากเป็นความทรงจำที่ทุกคนอยากจะลืมจากความโหดร้ายของเจ้าอาณานิคมและเป็นเรื่องที่นานมาแล้ว จึงเลือกที่จะให้ความสำคัญกับศาสนา ความเชื่อที่ตนนับถือและยึดนำมาเป็นหลักปฏิบัติที่สร้างความเป็นบาหลีมาจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของการดำเนินเรื่องจะไม่มีผู้ดำเนินรายการ ใช้เสียงบรรยายประกอบ บวกกับนำเสนอภาพของผู้คนและสถานที่ต่างๆ และมีการเก็บข้อมูลหรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญหรือไกด์ท้องถิ่น เป็นการบรรยายที่ไม่มีการแสดงความคิดเห็นหรือมุมมองใด ล้วนเป็นข้อมูลที่เป็นจริง สามารถนำไปต่อยอดเป็นองค์ความรู้ในงานศึกษาบาหลีในมุมมองต่างๆ โดยจะเน้นการดำเนินเรื่องด้วยภาพและเนื้อหาจากการบรรยายถือเป็นสารคดีเต็มรูปแบบ







3.2 สารคดีเชิงท่องเที่ยว
จากการศึกษาข้อมูลจากสื่อวิดีทัศน์ พบว่ามีข้อมูลที่เกี่ยวกับสารคดีเชิงท่องเที่ยวทั้งหมด 9   ชิ้น
ตารางที่ 4:สารคดีเชิงท่องเที่ยว
ลำดับ
ชื่อเรื่อง
ชื่อรายการ/ช่อง
ปีที่เผยแพร่
(พ..)
1
บาหลี อินโดนีเซีย   ปีที่เผยแพร่
บอร์ดดิ้งพาส
2552 
2
บาหลี:วิถีชีวิต ความเชื่อ และความศรัทธา
ASEAN
2558
3
เปิดตำนานกับเผ่าทอง ตอน : บาหลี - คิตามณี
PPTVHD 36
2558
4
บันทึกการเดินทางบทสุดท้ายของประเทศ 'อินโดนีเซีย'
VOICE TV
2558
5
Amazing AEC:วันปีใหม่ของชาวบาหลี   
ช่อง 3 HD
2559
6
ตะลุยตลาดบาหลี  
สีสันเศรษฐกิจ อสมท.
2559
7
พื้นที่ชีวิต : บาหลี ชีวิตที่สมดุล
Thai PBS
2561
8
เที่ยว 'บาหลี' ดินแดนที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์
ลีลามี
2562
9
เทยเที่ยวไทย | พาเที่ยว บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
GMMTV
2562

บอร์ดดิ้งพาส (2552 ) บาหลี อินโดนีเซีย   เป็นรายการที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนิเซีย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียนและมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก โดยมีการพาไปชมและรู้จักเมือง Bandung เมืองที่อากาศเย็นสบายตลอดปีและมีทะเลสาบบนปล่องภูเขาไฟ, เมือง Yogyakarta เยี่ยมชมโบราณสถานบุโรพุทโธ ที่ชาวพุทธทุกคนให้ความสนใจและเรียนความเป็นประวัติศาสตร์ และเน้นสัมผัสประวัติศาสตร์และอารยธรรมที่แตกต่างบนเกาะบาหลี
บาหลี (Bali) หรือ จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีเมืองสำคัญคือ "เดนปาซาร์" (Denpasar) ความหนาแน่นของประชากร 607 คน/ตารางกิโลเมตร ภาษาที่ใช้คือภาษาอินโดนีเซียและภาษาบาหลี ประชากรส่วนใหญ่บนเกาะบาหลีนับถือศาสนาฮินดู ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบาหลีได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นอันเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ศาสนา ตลอดจนอักษรและภาษา ฯลฯ โดยนำมารวมกับวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น และนำใช้อย่างแพร่หลาย
รายการนี้ได้สะท้อนให้เห็นสิ่งที่ดึงดูดใจให้ใครต้องใครดินทางไปเที่ยว "บาหลี" เพราะยังคงมีความงดงามตามธรรมชาติ และยังมีกฎหมายห้ามปลูกสิ่งก่อสร้าง ที่เป็นสิ่งแปลกปลอมจากธรรมชาติ อีกทั้งอาคารที่จะสร้างต้องมีความสูงห้ามเกิน 15 เมตร รวมถึงรักษาวิถีชีวิตและความเชื่อในแบบดั่งเดิมไว้ไม่เสื่อมคลาย โดยผู้ดำเนินรายการสามารอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ใช้คำกระชับ แต่อาจจะยังเข้าถึงข้อมูลไม่ได้มากนัก
ASEAN (2558) รายการ บาหลี:วิถีชีวิต ความเชื่อ และความศรัทธา    นำเสนอผ่านการท่องดินแดนแห่งความเชื่อ และความศรัทธา กับการขับเคลื่อนวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย  ไปค้นหาคำตอบว่าทำไม  ที่แห่งนี้ถึงสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมอันงดงาม พร้อมกับยังคงรักษาความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมาชาติได้เป็นอย่างดี โดยจะเน้นนำเสนอเนื้อหาดังต่อไป
ช่วงแรก  เปิดบ้านอาเซียน  พาไปติดตามเรื่องราวของ  “การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ควบคู่กับการอนุรักษ์ไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมอันงดงาม และธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของเกาะบาหลี “
ช่วงที่ 2 วันนี้ที่อาเซียน พาค้นหาคำตอบจากเรื่องราวของความเชื่อกับวิถีชีวิต เกี่ยวกับ “ การสร้างที่อยู่อาศัยในแบบดั้งเดิมของชาวบาหลี “
ช่วงสุดท้าย ของฝากจากอาเซียน พาไปสัมผัสกับมนต์เสน่ห์ของชาวบาหลีกับความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาฮินดู จนกลายเป็น  “ วัฒนธรรมฮินดู “  ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากพิธีกรรม และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่เกาะบาหลี
PPTVHD 36 (2558)  รายการ เปิดตำนานกับเผ่าทอง ตอน : บาหลี - คิตามณี  นำเสนอเกี่ยวกับตำนานเผ่าทอง โดยอ.เผ่าทองจะพาไปท่องเที่ยวที่เมืองคินตามณีของบาหลี อินโดนิเซีย ไปชมและชิมกาแฟชะมดของชวา ..ชมภูเขาไฟบาตูร์และล่องทะเลสาปบาตูร์ไปยังหมู่บ้านหมุนยันเพื่อชมบรรยากาศป่าช้าตามแบบฮินดู จากนั้นไปชมวิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีในแบบวัฒนธรรมฮินดู
หมู่บ้านคินตามณี ที่มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี ท่ามกลางวิวทิวทัศน์อันงดงามของภูเขาไฟบาร์ตูร์ซึ่งอยู่บริเวณหมู่บ้านคินตามณี และเป็นหนึ่งในอาณาจักรยุคต้นๆ ภูเขาไฟกูนุงบาร์ตูร์นี้เป็นหุบเขาที่งดงาม มีหมอกปกคลุมอย่างสวยงาม บริเวณนี้จะมีอากาศเย็นตลอดทั้งปีและยังเป็นชมวิว ทะเลสาบบาตูร์ Batur Lake ที่มองลงไปเห็นท้องน้ำสีครามสะท้อนแสงระยิบระยับท่ามกลางฉากหลังเป็นภูเขาไฟกุนุงบาตูร์นับเป็นจุดชมวิวที่สวยงามมากแห่งหนึ่งในบาหลี
VOICE TV  (2558) รายการ บันทึกการเดินทางบทสุดท้ายของประเทศ 'อินโดนีเซีย'  เป็นรายการที่นำเสนอเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของบาหลี โดยผู้ดำเนินรายการคือ ทอมมี่ ธนบัตร กายเออร์ นำเสนอเกี่ยวกับศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเกาะบาหลี “ระบำบารอง”
บารอง แดนซ์ (Barong Dance) หรือ ระบำบารอง ศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของบาหลี นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เมื่อเดินทางไปบาหลีมักจะไปชม เพราะโปรแกรมทัวร์บริษัทร์ต่างๆ มักจะมี บารอง แดนซ์ เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมด้วย หลายๆ คนที่ได้เดินทางไปแล้วกลับมาเขียนรีวิว ว่า บารอง แดนซ์ เป็นการแสดงระบำพื้นบ้าน
เวทีแสดง บารอง แดนซ์ มีสาวๆ ในชุดระบำบารอง ยืนต้อนรับ พร้อมกับเชื้อเชิญให้ถ่ายรูปด้วย ก่อนถ่ายรูป บรรดาสาวๆ จะหยิบยื่นดอกยูปรุน หรือ ดอกลีลาวดีของบ้านเรา มาทัดหูให้สาวๆ ก่อนจะถ่ายภาพ ได้อารมณ์บาหลีเพิ่มขึ้นอีก แล้วก็ไปนั่งรอชมการแสดง บารอง แดนซ์ โรงละครที่ใช้แสดงถูกจัดวางด้วยเก้าอี้ไม้ไผ่ เรียงรายเป็นชั้นไล่ระดับกันไป ด้านขวาของเวทีจะมีบรรดาหนุ่มๆ นักดนตรี ที่นุ่งผ้าคล้ายกระโจมอก มากกว่า 15 คน นั่งรอที่จะประโคมเสียงเพลงให้คนดูได้เพลิดเพลิน อีกไม่นาน การแสดงก็เริ่มขึ้น
  บารอง แดนซ์  เป็นการแสดงระบำพื้นบ้าน แสดงถึงการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่ว โดยให้ บารอง สัตว์ในนิยายโบราณ เป็นตัวแทนแห่งความดี และให้ รังคา สัตว์ประหลาดตัวร้ายในนิยายโบราณ เป็นตัวแทนแห่งความ เป็นการแสดงที่ดูแล้วเข้าใจง่าย ประกอบกับการแต่งกายที่สีสันสวยงาม ผสมผสานกับลีลาการร่ายรำที่ทั้งอ่อนหวานและแข็งแรงของนักแสดงทั้งหมด โดยเฉพาะนักแสดงตัวเล็กๆ ที่แสดงได้ดีจนลืมไปว่า ที่เห็นนั่นคือ คน บางฉากก็มีมุกตลกๆ ขำๆ ให้นั่งหัวเราะ อมยิ้ม ไปตามๆ กัน การร่ายรำที่มีการถลึงตา กรอกตาไปมา กลับกลายเป็นมนต์เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของ บารอง แดนซ์ มีการสอดแทรกเรื่องการเปรียบเทียบความดีความชั่วก็แสดงออกมาให้เข้าใจได้ไม่ยาก ดนตรีที่บรรเลงได้อย่างไพเราะเข้ากันได้อย่างดี ผู้ชมที่ได้ชมในครั้งนี้ ต่างต้องหยิบยกกล้องถ่ายรูปขึ้นมาถ่ายการแสดงและตัวละครที่ชื่นชอบอยู่บ่อยครั้ง และเมื่อการแสดงจบก็มีผู้ชมหลายคนที่ขอถ่ายรูปร่วมกับนักแสดงที่มาคอยให้ได้ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก
Amazing AEC (2559) วันปีใหม่ของชาวบาหลี       ผู้ดำเนินการโดย อ.เกษมสันต์พาไปดูวัฒนธรรมวันปีใหม่ของชาวบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่กว่ากรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานีรวมกัน คนอาศัยอยู่ในเกาะนี้จะนับถือฮินดู ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย มีวัดฮินดูที่เป็นลักษณะเฉพาะของบาหลี จากสถิติมีนักท่องเที่ยวที่บาหลีเกือบ 4 ล้านคน วันปีใหม่ของชาวบาหลีจะเป็นขบวนแห่เทวรูป และสรงน้ำพระ โดยแห่พระพุทธรูป-เทวรูปไปทะเล และจะแห่ไปรอบเกาะ จนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดินมืด จะส่งเสียงดัง จุดประทัดให้เสียงดังเพื่อไล่ปีศาจออกไปจากเกาะ   วันต่อมาจะเป็นวันเงียบ ที่ห้ามคนออกจากบ้าน ซึ่งจะเงียบตั้งแต่กลางวันยันกลางคืน ร้านค้าต่างๆ รวมถึงสนามบินจะปิดให้บริการ ที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพื่อหลอกปีศาจว่าไม่มีใครอยู่ ไม่มีใครให้หลอก รวมถึงเป็นกุศโลบายเพื่อเป็นการทดสอบตัวเองให้ชนะใจตนเอง ถ้าหากชนะใจตนเองได้จะโชคดีไปอีกหนึ่งปี
สีสันเศรษฐกิจ อสมท. (2559)  ตะลุยตลาดบาหลี   รายการนี้มีการนำเสนอ ให้เห็นถึงแหล่งช๊อปปิ้งสุดฮิตในบาหลี ที่ใครก็ต้องไปเลือกซื้อสินค้าพื้นเมืองที่เกาะบาหลี แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของอินโดนีเซีย ของฝากจากบาหลีที่ขึ้นชื่อคือผ้าบาติก ลวดลายของผ้าจะสวยงาม  มีร้านขายของพื้นเมืองอยู่เต็มไปหมด  แม้จะมีมอเตอร์ไซค์แว้นไปมาอยู่บ้าง
การได้เดินตลาดเช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปราศจากนักท่องเที่ยวให้ความรู้สึกมนต์เสน่ห์ของความเป็นบาหลี การได้สำรวจตลาดสดในยามเช้าเป็นความประทับใจยิ่งเต็มไปด้วยชีวิตชีวาสะท้อนชีวิตผู้คนดีที่สุด แสดงให้เห็นถึงความน่ารักของพ่อค้าแม่ค้าจะนำผลผลิตของตนมาวางขายอย่างง่ายๆ ชาวเมืองส่วนใหญ่ออกมาจับจ่ายซื้อหาอาหาร เป็นอาหารเช้า เป็นตลาดที่ไม่เต็มรูปแบบนัก เพราะที่แท้มันเป็นบริเวณเล็กๆ ประกอบไปด้วยแผงขายสินค้าหลากหลาย ตั้งเรียงกันเป็นแถว ทั้งบนพื้นดินและบนแคร่ไม้ไผ่ เต็มพื้นที่แล้วกระจายกันไปในซอยเล็กๆ สินค้าพื้นเมือง ผลไม้ป่า เห็ด ผักตามฤดูกาล อาหารนานาสารพัน                      
Thai PBS  (2561)  รายการ พื้นที่ชีวิต : บาหลี ชีวิตที่สมดุล  ดำเนินรายการคือ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล เดินทางสู่เกาะบาหลี จุดมุ่งหมายของรายการคือ เพื่อค้นหาคำตอบว่า ทำไมผู้คนจำนวนไม่น้อยจึงใช้การเดินทางเป็นเครื่องมือในการออกค้นหาความหมายให้กับชีวิตตนเอง
โดยในเนื้อหามีการนำเสนอเกี่ยวกับ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากจะมีชื่อเสียงด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและชายหาดแล้ว ปัจจุบันนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยเดินทางมาบาหลี เพื่อค้นหาคำตอบบางอย่างให้กับชีวิตของตัวเอง ผ่านการใช้ชีวิตและการเรียนคอร์สภาวนา ส่วนหนึ่งของกระแสดังกล่าวเป็นผลจากความนิยมของหนังสือและภาพยนตร์เรื่อง Eat Pray Love ที่ทำให้นักเดินทางจำนวนมาก เดินทางมาตามรอยและแสวงหาชีวิตที่สมดุลเหมือนกับตัวเอกในเรื่อง
การนำเสนอข้อมูลนั้นค่อนข้างละเอียด กระชับ เข้าใจง่าย มีการสอบถามจากผู้เชียวชาญท้องถิ่น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และมีการสอบถามจากผู้คนที่มาท่องเที่ยวเกี่ยวกับสถานว่ามีความคิดอย่างไรบ้างต่อสถานนั้นๆ ในบาหลี ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่แตกต่างกันและสนใจ 
ลีลามี   (2562)   เที่ยว 'บาหลี' ดินแดนที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์  พาเที่ยว บาหลี (Bali) บาหลีเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์เย้ายวน ชวนให้ผู้คนต่างอยากเดินทางมาเที่ยวสักครั้้ง ด้วยแหล่งท่องเที่ยว ธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่สวยงาม โดยมีการนำเสนอผ่านสถานที่ต่างๆที่น่าสนใจ
ปุริ ซาเรน อากุง (Puri Saren Agung) หรือ พระราชวังอูบุด (Ubud Palace) ตั้งอยู่ใจกลางเมืองอูบุด (Ubud) ซึ่งในอดีตเป็นพระราชวังของกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอูบุด ศิลปะในวังส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยหินและไม้แกะสลัก ลวดลายละเอียดอ่อน งดงามตระการตา แสดงให้เห็นถึงศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของบาหลีข้ามถนนมาฝั่งตรงข้ามพระราชวัง เป็นตลาดอูบุด ในตลาดนี้มีสินค้าพื้นเมืองขายอยู่มากมาย เหมาะแก่การซื้อไปเป็นของฝาก
น้ำตกทีบูมานา Tibumana Waterfall 1 ในน้ำตกที่สวยที่สุดของบาหลี ถูกขนานนามว่าน้ำตกลึกลับ เพราะมีทางเข้าที่ค่อนข้างซับซ้อน หากไม่ใช่คนพื้นที่ก็หลงได้ง่าย ๆ เลย
พระราชวังตีร์ตา กังกา (Tirta Gangga) พระราชวังที่ห้อมล้อมไปด้วยน้ำ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1946 แต่ภายหลังการระเบิดของภูเขาไฟอากุง พระราชวังสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายก็ถูกทำลายจนเกือบหมด และรับประทานอาหารที่ร้าน บาหลีแอสลี (Bali Asli) ร้านอาหารบาหลีดั้งเดิม ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 และร้านอาหารชื่อดังที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง กับร้านที่มีชื่อว่า Bebek Bengil Dirty Duck Dinner 
วัดเลมปูยางค์ (Lempuyang Temple) วัดหิน ที่สร้างขึ้นมาหลายร้อยปี โดยเกิดจากนักบวชที่เห็นแสงสว่างบนเขา ภายหลังจึงร่วมกันกับชาวบ้านช่วยกันสร้างวัดนี้ขึ้น
GMMTV (2562)  รายการ เทยเที่ยวไทย | พาเที่ยว บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้ดำเนินรายการคือ ก๊อตจิ, กอล์ฟ, เจนนี่ ปาหนัน  จุดมุ่งหมายของรายการจะเน้นเรื่องการท่องเที่ยว ความสนุกสนาน ชมสถานที่ พาเที่ยว Monkey Forest, Ceking Rice Terrace Area,Holy Spring, D'TUKA RIVER CLUB BALI โดยจะมีสโลแกนคือ มาบาหลีครั้งนี้มีความสุข เที่ยวสนุกเอ็นจอยมีแสนสุขใส ดูฝูงลิง ขี่ชิงช้า นาขั้นบันใด แต่พวกเรานั้นไซร้เป็นกระเทย  โดยจะพาไปชมสถานที่ มีการข้อมูลประวัติศาสตร์พอสังเขป จะพาปทำกิจกรรม ถ่ายรูป ซื้อของที่ระลึก และพาปกลมกลืนกับคนท้องถิ่น โดยผ่านการแต่งกาย วิถีชีวิตของผู้คน
จุดเด่นคือ เป็นรายการท่องเที่ยวที่คนปัจจุบันส่วนมากชอบกัน เน้นทำกิจกรรม ถ่ายรูป ซื้อของ และกินอาหารท้องถิ่น และชมศิลปะสถาปัตยกรรมของวัด นาขั้นบันได  แต่จะมีการบอกถึงตำนานเล็กน้อยเพื่อให้เข้าใจสถานนั้นๆ พอสังเขป จะเน้นความบันเทิงแก่ผู้ชม เหมือนไปกับกลุ่มเพื่อน

จากการศึกษาข้อมูลจากสื่อวิดีทัศน์ด้านสารคดีเชิงท่องเที่ยวพบว่า รายการแต่ละเรื่องจะมีผู้ดำเนินรายการเป็นเหมือนผู้นำเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ มีการพูดคุยสอบถามกับคนในท้องถิ่น หรือนักท่องเที่ยวเพื่อให้เห็นความแตกต่างในเรื่องความคิดเห็นส่วนตัว และมีมุมมองทัศนคติที่มีต่อสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละแห่ง โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้ชมได้ข้อมูลที่เป็นสาระความรู้และความบันเทิงควบคู่กันไปด้วย ในด้านนี้จะสะท้อนให้เห็นถึง วิถีชีวิตของผู้คน ประเพณี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ รวมถึงสภาพอากาศ อาหาร และที่พักของบาหลี เป็นต้น  และยังมีเกร็ดความรู้ต่างๆสอดแทรกอยู่ พร้อมทั้งมีการใช้สำนวนภาษาที่ทันสมัยและน่าสนใจเพื่อชวนให้น่าติดตามมากยิ่งขึ้น ยังเป็นการส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เห็นคุณค่า ความสำคัญของสถานที่ท่องเที่ยวในบาหลีอีกด้วย



 4) สรุปและข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาสถานภาพความรู้เกี่ยวกับบาหลี ทั้งที่เป็นงานเขียนและสื่อวิดีทัศน์ทั้งหมด 37 ชิ้น ทำให้พบว่าทั้งงานเขียนและสื่อวีดิทัศน์มีการนำเสนอและให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตของผู้คน ศาสนา ความเชื่อ  สิ่งเหล่านี้ได้สร้างสถานที่อย่างวัดหรือเทวาลัย สถาปัตยกรรมที่สวยงาม ประเพณีวัฒนธรรม พิธีกรรมและเทศกาล รวมถึงการแสดงสำคัญต่างๆที่บ่งบอกความเป็นบาหลี ความแตกต่างระหว่างงานเขียนและสื่อวิดีทัศน์ จะเป็นในเรื่องความน่าเชื่อถือของเนื้อหาอาจจะยังมีน้อยกว่างานเขียน รวมถึงความครอบคลุมของเนื้อหาที่จะเน้นการเล่าเรื่อง (Tell) มากกว่าที่จะเน้นการแสดงหรือนำเสนอ (Show) ภาพหรือองค์ประกอบต่างๆของสื่อวีดิทัศน์ที่เป็นการกระตุ้นให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของสถานที่ท่องเที่ยวในบาหลี
การศึกษาสถานภาพความรู้เกี่ยวกับบาหลีมีความโด่นเด่นในประเด็นสารคดีทั้งที่เป็นในเชิงวิชาการและการท่องเที่ยวเป็นหลัก เนื่องจากว่างานเขียนและสื่อวิดีทัศน์ส่วนมากทั้งที่ตีพิมพ์และเผยแพร่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษจะเด่นในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คนและประเพณีต่างๆ จึงได้มีการพยายามที่จะนำเสนอทั้งประเด็นเหล่านี้เป็นหลัก   เนื่องจากว่าถ้ากล่าวถึงเกาะบาหลี ผู้คนส่วนมากจะนึกถึงความโด่ดเด่นของวัฒนธรรมและความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยว  รวมถึงเอกสารงานเขียน สารคดีต่างๆก็จะเด่นในด้านนี้ด้วย ถือว่าเกาะบาหลีเป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่มีบทบาทและอิทธิพลในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เนื่องจากมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองอยู่แล้ว  ดังนั้นผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาสถานภาพความรู้เกี่ยวกับบาหลีในประเด็นเรื่อง การเดินทางและการท่องเที่ยวในบาหลีที่เขียนครอบคลุมไปถึงศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และศาสนาที่มีผลกับผู้คนและเป็นสิ่งที่ยังปฏิบัติอยู่บนของเกาะบาหลีตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน โดยผ่านสถานที่ต่างๆ  มีการแสดงทั้งความเป็นจริงและทัศนะปนอยู่ด้วย กับสิ่งที่ได้พบเจอในระหว่างการเดินทาง  จากนั้นจะมาเรียบเรียงให้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เหมาะกับยุคสมัยปัจจุบันที่การท่องเที่ยวนั้น เปิดกว้างและมีอิทธิพลมากในโลกปัจจุบัน
            สำหรับข้อเสนอแนะ ข้อมูลจากการศึกษาในครั้งนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นส่วนหนึ่งที่ได้มาจากการสืบค้นในพื้นที่จำกัด แต่ก็ยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษางานเขียนและสถานภาพความรู้เกี่ยวกับเกาะบาหลี ซึ่งถ้าการศึกษาในทางโบราณคดีที่ในปัจจุบันยังมีน้อยอยู่ อาจจะเพิ่มหลักฐานในอนาคตที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้สร้างงานที่เกี่ยวกับเกาะบาหลีให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากกว่านี้

 เอกสารอ้างอิง

ภาษาอังกฤษ
Michael Tenzer.(2011).Balinese Gamelan Music.Singapore:Tuttle Publishing.
           .Singapore:Periplus Editions with editorial offices.
Wayan Dibia and Rucina Balinger.(2004).Balinese Dance,Drama and Music.
ISBN Co.Ltd.(1995).BALI STYLE.Thailand: ISBN Co.Ltd.
Sallie Morris.(1996).TASTE OF INDONESIA.Singapore:Standard Industries Pte.Ltd.
A.A. Pandij Tisna.(2001).Sukreni Gadis Bali.Jakarta:Balai Pustaka.
ภาษาไทย
อรินธรณ์.(2554).เที่ยวถูก จูบโลก(Poorly Planet 2).กรุงเทพ:มติชน.256 หน้า:พร้อมภาพประกอบ.
ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง.(2547).เมืองยั่งยืนในเอเชีย แนวคิดและประสบการณ์จากเมืองนาราและ
             บาหลี.สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.322 หน้า.             
มานพ ถนอมศรี.(2552).วิลเลียมที่ 12 3 และ 4 กษัตริย์ผู้พิชิตเกาะบาหลี.อังคณา เนตรจันทร์,
            ราชา-ราชินี ที่โลกไม่ลืม (92-109).Than Books.
โดย พี่วุฒิ & พี่เคท.(2549).บาหลี:เที่ยวได้ง่ายๆ สบายกระเป๋าสตางค์ สไตล์ พี่วุฒิ & พี่เคท
            .พี.เอส.ซัพพลาย 400 หน้า (ภาพประกอบ)
รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี.(2558).ศิลปะชวา.ศิลปวัฒนธรรม.กรุงเทพ:มติชน.225 หน้า.   
รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี.(2560).ประวัติศาสตร์ศิลปะ:อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
            .นนทบุรี:มิวเซียม เพรส.252 หน้า.
ธีรภาพ โลหิตกุล.(2540).กบฏกริช บาหลี: อยู่อย่างยิ่งใหญ่ ตายอย่างมีเกียรติ.
            กรุงเทพฯ : มติชน.15, 278 หน้า : ภาพประกอบ

ภาวินี บุญเสริม.นาฏศิลป์บาหลี.ศิลปกรรมสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2551;3,1:32-42
เกริก ยุ้นพันธุ์.วัฒนธรรมงดงาม ที่บาหลี.หมอชาวบ้าน.2539;18,206:81-83
สุมิตรา จันทร์เงา.อารยธรรมเหนือแผ่นดินภูเขาไฟ บุโรพุทโธ-ย๊อกยาการ์ตา-บาหลี.
            ศิลปวัฒนธรรม.2539;17, 11:156-169.
สามพร ไมตรีจิต.ความสำเร็จของบาหลีในด้านการท่องเที่ยว.จุลสารการท่องเที่ยว.2533;9, 4:33-41
ท้าวทอง เสียมหลอ.เซลามัต มากัน อาหารบาหลี.ศิลปวัฒนธรรม.2535;13, 8 :72-75 ภาพประกอบ
เบญจรัตน์ มรรยาทอ่อน.ผลกระทบจากเหตุการณ์ในบาหลีและแนวทางการฟื้นฟู
            .จุลสารการท่องเที่ยว.2546; 22, 2 :16-20
สุกรี เจริญสุข.โปงในบาหลี.ศิลปวัฒนธรรม.2536; 14, 3 :72-74 ภาพประกอบ
สมพงษ์ งามแสงรัตน์. (2552). จากมะละกาถึงบาหลี ในนามของพระเจ้าและพริกไทย.มนุษยศาสตร์และ
            สังคมศาสตร์.2559;22.2:323-330.สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562,จาก Thaijo.
ธนโชติ เกียรติณภัทร.(2542).คำให้การสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ยุคล่า
            อาณานิคมในจีน พม่า เวียดนามและอินโดนีเซีย.ดำรงวิชาการ. หน้า 1-26.
สสว. SME (Knowledge Center).(2561).โมเดลธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในบาหลี.
            องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ           
สื่อวิดีทัศน์
GMMTV. (2562).เทยเที่ยวไทย The Route | ตอน 379 | พาเที่ยว บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย. สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562, จาก https://www.youtube.com/watch?v=eYBIFhZfY_A&list=WL&index=41.
TPCHANNE .(2560). ASEAN LAW เกาะสวรรค์บาหลี อินโดนีเซีย. สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562, จาก https://www.youtube.com/watch?v=wSyVMhOKEEw&list=WL&index=40.
ThaiPBS .(2557).ใกล้ตาอาเซียน : บาหลีในรอยวิถี: พิธีกรรมแห่งความตาย. สืบค้นเมื่อ 20
   กันยายน 2562, จาก https://www.youtube.com/watch?v=fdvmA7Dcvpk&list=WL&index=36.
ThaiPBS .(2558). Spirit of Asia : วิถีพุทธแห่งบาหลี. สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562, จาก https://www.youtube.com/watch?v=W7MRjDxI7PU&list=WL&index=35.
STOU CHANNEL (2558). @ASEAN บาหลี วิถีชีวิต ความเชื่อ และความศรัทธา. สืบค้นเมื่อ 20   กันยายน
            2562 ,จาก   https://www.youtube.com/watch?v=gQeNUCWw2JQ&list=WL&index=30.
ThaiPBS .(2561).พื้นที่ชีวิต : บาหลี ชีวิตที่สมดุล. สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562 ,จาก https://www.youtube.com/watch?v=hCqZ8qC--2o&list=WL&index=29           
ThaiPBS .(2560).เรื่องนี้มีตำนาน : ความเชื่อเรื่องน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ของชาวบาหลี. สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562 , จาก https://www.youtube.com/watch?v=mDa9jg9aOwg&list=WL&index=24.
ThaiPBS .(2558). Spirit of Asia : ปีใหม่แบบบาหลี. สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562 , จาก https://www.youtube.com/watch?v=Ti2SSfgAk04&list=WL&index=23.
VOICE TV.(2559).บันทึกการเดินทางบทสุดท้ายของประเทศ 'อินโดนีเซีย'. สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562 , จาก https://www.youtube.com/watch?v=_GEOtYe_w10&list=WL&index=21
เสน่ห์บาหลี. (2556). ตอน มนตราแห่งบาหลี. สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562 , จาก https://www.youtube.com/watch?v=yDGifJxPyko&list=WL&index=13.
ลีลามี. (2562).เที่ยว 'บาหลี' ดินแดนที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ . สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562 , จาก https://www.youtube.com/watch?v=vAISBX5CLWs&list=WL&index=11.
ทีวีบูรพา. (2558). หลงเทศกาลโลก : ปีใหม่สุดแปลก บาหลี. สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562 , จาก https://www.youtube.com/watch?v=Ygnd0U_MrFg&list=WL&index=10.
PPTV HD 36. (2559) .เปิดตำนานกับเผ่าทอง EP.135 ตอน : บาหลี - คิตามณี . สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562 , จาก https://www.youtube.com/watch?v=myhkLzcxZak&list=WL&index=7.ฃกระทรวงวัฒนธรรมและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. (2556) .เปิดม่านอุษาคเนย์ ตอน บาหลี . สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562 , จาก https://www.youtube.com/watch?v=je4fbh9lVrs&list=WL&index=6.
ThaiPBS .(2557). ใกล้ตาอาเซียน : บาหลี เกาะแห่งศรัทธา.สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562 , จาก https://www.youtube.com/watch?v=zYzx_m56do8&list=WL&index=4.
ThaiPBS .(2560). Spirit of Asia : พิธีส่งวิญญาณของเผ่าบาหลีอากา .สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562 , จาก https://www.youtube.com/watch?v=Q4diwnH6iew&list=WL&index=2.
สำนักข่าวไทย อสมท.(2559).สีสันเศรษฐกิจ : ตะลุยตลาดบาหลี .สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน | 2562 , จากhttps://www.youtube.com/watch?v=8MSHy_ktWU0&list=WL&index=39.
BOARDING PASS.(2552). Bali, INDONESIA.สืบค้นเมื่อ 20
                กันยายน 2562 , จาก, https://www.youtube.com/watch?v=Wz34ZEKoX7w&list=WL&index=32

Comments